ศาสนวัตถุศิลาสี่เหลี่ยมสลักภาพเล่าเรื่องทั้งสี่ด้านจากสถานพระนาราย์ วัดพระนารายณ์มหาราช นครราชสีมา : การผสมผสานคติความเชื่อทางศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา

Authors

  • ปรีชาวุฒิ อภิระติง

Keywords:

วัดพระนารายณ์มหาราช, นครราชสีมา, ความเชื่อ, ศาสนาฮินดู, ศิลาจารึก

Abstract

การศึกษาแท่งศิลาสี่เหลี่ยมสลักภาพเล่าเรื่องทั้งสี่ด้านจากสถานพระนารายณ์ วัดพระนารายณ์มหาราช จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและภาพสะท้อนของความสัมพันธ์ทางสังคมแห่งยุคสมัยผู้สร้างสรรค์และเป็นเจ้าของหลักฐานวัตถุทางวัฒนธรรมชิ้นนี้รายละเอียดของภาพทั้งสี่ คือ ภาพสลักด้านที่ ๑, ๒, และ ๔ แสดงถึง พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ วัชรปาณี และนางปรัชญาปารมิตา เป็นรูปบุคลาธิษฐานในพุทธศาสนานิกายมหายาน ส่วนภาพสลักด้านที่ ๓ เป็นเทพตรีมูรติ ซึ่งเป็นรูปบุคลาธิฐานในศาสนาฮินดู ด้วยการเรียบเรียงข้อมูล ผลการศึกษาวิเคราะห์ ทั้งด้านศาสนา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ศิลปะ จากนักวิชาการด้านต่างๆ เหล่านั้น สรุปความได้ถึงภาพสะท้อนการบูรณาการความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ อันหลากหลายของคน ผู้เป็นสมาชิกทางสังคมในบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน แหล่งที่พบหลักฐานวัตถุทางวัฒนธรรมดังกล่าว อันเป็นฐานเดิมของชนแถบนี้ กับกลุ่มราชวงศ์ ชนชั้นปกครองของที่มีฐานอำนาจ ณ แหล่งนี้ ในสมัยที่เมืองพระนครของขอมเรืองอำนาจ เป็นศูนย์กลางทางการเมือง และเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายทางศาสนาและวัฒนธรรม ทั้งมิติความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ สภาพแวดล้อมการเกษตรกรรม (ระบบการผลิต) คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ศรัทธา คติ ความเชื่อ (ระบบศาสนา) และคนกับคน เครือญาติ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง (ระบบสังคม) ซึ่งอย่างน้อยหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นวัตถุทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ก็ได้บ่งชี้ถึงบูรณภาพของคติ ความคิด ความเชื่อจากคัมภีร์ทางศาสนา ทั้งพุทธศาสนา และศาสนาฮินดูเข้าเป็นเอกภาพกัน  The study of the four-sided carved stone from Sadhan Phra Narayana, Wat Phra Narayana Maharaja in Nakhon Rachasims is aimed to obtain knowledge regarding implication and reflection of social relationship in the era of the creator and owner of the carved stone – the cultural object. The pictures carved on side 1, 2, and 4 of the stone are of the Lord Buddha, Vajrapani Bodhisattva, and Prajaya Paramita which are personification image of Mahayana. However, the picture on side 3 is of Tri Murati – the personification god image of Tri Murati – the personification god image of Hinduism. The data arranged and analyse in terms of religion, history, geography, anthropology and art history from those scholars, the study was concluded and reflected integration of relationship in various dimension. The study showed the multi-dimensioned relationship between those social members whose habitat was in the up north area of the Moon River which is the site that the cultural object was found and the dynasty people who were in governing class whose base of power was in the area in the era that the powerful city of Khmer was the center of politics and religion and culture. The study also revealed the dimension of the relationship between human and nature, environment, agriculture, (production process); human and supernatural, faith, folklore, value (religion); and human and human, kinship, society, culture, politics, government (social system). At least, this cultural object evidenced integrity of folklore, thought, value from religious book of both Buddhism and Hinduism.

Downloads

Published

2024-05-03