รูปแบบ หน้าที่ และความสัมพันธ์ทางความหมายของคำปฏิญาณตนในหน้าที่และอาชีพในสังคมไทย

Form, Function, and Semantics Relationship of the Pledges in Duties and Careers in Thai Society

Authors

  • ขจิตา ศรีพุ่ม

Keywords:

คำปฏิญาณตน, อาชีพ, ความสัมพันธ์ทางความหมาย, หมวดความหมาย, Pledges, Careers, Semantics Relationship, Semantics Field

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ หน้าที่ และความสัมพันธ์ทางความหมายของคำปฏิญาณตนในหน้าที่และอาชีพในสังคมไทย โดยเก็บข้อมูลคำปฏิญาณตนในหน้าที่และอาชีพของคนไทยจากเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการและเอกชนในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 รวมจำนวน 35 คำปฏิญาณ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของถ้อยคำปฏิญาณตนเป็นร้อยแก้ว ใช้กลวิธีแบบพรรณนาโวหารและบรรยายโวหารมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การออกนามตนเอง การกล่าววัจนกรรมผูกมัด การกล่าวคำมั่นในการประพฤติตนและการกล่าวคำมั่นในการไม่ประพฤติตน การแสดงเหตุ-ผลแห่งการกระทำตามคำมั่น การกล่าวอ้างกฎระเบียบ มาตรฐานวิชาชีพหรือบัญญัติต่าง ๆ และการออกนามอาชีพ ผลการศึกษาหน้าที่ของ คำปฏิญาณตน พบว่ามี 3 หน้าที่ ได้แก่ หน้าที่สั่งสอนการประพฤติตน หน้าที่แสดงความเป็นพวกเดียวกัน และหน้าที่สร้างความเชื่อมั่นและไว้เนื้อเชื่อใจ การจัดหมวดหมู่ทางความหมายของคำศัพท์สามารถจัดได้ 8 หมวดหมู่ ได้แก่ หมวดความหมาย “จริยธรรม” “การดูแล” “คำแทนตน” “ความตั้งมั่น” “ศีลธรรม” “ดินแดน” “ระบอบการปกครอง” และ “ความภาคภูมิใจ”  The research investigates the structure, purpose, and semantics relations within Thai society’s pledge of duties and careers from October to November 2023. Data was collected from government and private agencies’ websites, resulting in 35 pledges. The findings indicate a prose style, utilization of descriptive rhetoric, and rhetorical strategies. The Pledge has six components: saying names, commissive speech acts, a pledge to behave and not to behave, saying cause-effect of fulfilling promises, citing professional standards or regulations, and saying the profession’s name. The pledges encompass 3 duties: guiding personal behavior, fostering solidarity, and instilling confidence and trust. The study categorizes word meanings into 8 groups: “ethics,” “care,” “self-representation,” “determination,” “morality,” “territory,” “regime,” and “pride.”

References

นววรรณ พันธุเมธา. (2544). คลังคำ. อมรินทร์.

นันทนา วงษ์ไทย. (2562). ภาษาและความหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). เวิร์ค ออล พริ๊นท์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2551). การถวายสัตย์ปฏิญาณ. http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การถวายสัตย์ปฏิญาณ

วิกานดา เกียรติมาโนชญ์ และจันทิมา อังคพณิชกิจ. (2559). หน้าที่ของถ้อยคำสาปแช่งและสาบานในวาทกรรมการเมืองไทย. วารสารวจนะ, 4(2), 1-19.

สุริยา รัตนกุล. (2544). อรรถศาสตร์เบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

อาทิตย์ ศรีจันทร์. (2555). วรรณกรรมคำสัตย์สาบานในกฎหมายตราสามดวง. [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. (2537). ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น. ต้นธรรมสำนักพิมพ์.

Austin, J. L. (2002). How to do things with words (2nd ed.). Oxford University Press.

Downloads

Published

2024-05-13