คำยืม : กรณีศึกษาลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย
Loan Word: A Case Study of Pali and Sanskrit Loan Words in the Thai Language
Keywords:
ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย, ลักษณะการยืมคำ, คำยืม, Pali and Sanskrit in the Thai language, Loaning Form, Loan Word PhenomenonAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย โดยรวบรวมคำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตเฉพาะที่เป็นคำเดี่ยวใน “หนังสือคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต” ที่จัดพิมพ์เผยแพร่โดยราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 ผลการวิจัยพบลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย คือ 1) การยืมคำจากภาษาใดภาษาหนึ่ง แบ่งออกเป็นการยืมคำจากภาษาสันสกฤต การยืมคำจากภาษาบาลี 2) การยืมคำจากทั้งสองภาษา แบ่งออกเป็นการยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีรูปคำและความหมายเหมือนกัน การยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีรูปคำต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน ซึ่งในกรณีนี้แบ่งย่อยได้เป็น การยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมาใช้ในความหมายเดียวกันในภาษาไทย การยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมาแยกความหมายใช้ในภาษาไทย และการยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมาสร้างรูปคำใหม่โดยวิธีการผสมผสาน (blending) และ 3) การยืมคำจากภาษาบาลีและ/หรือภาษาสันสกฤตแล้วมีการเปลี่ยนรูปคำในภาษาไทย แบ่งออกเป็น การยืมคำโดยมีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อให้ได้รูปคำใหม่ที่มีความหมายแตกต่างกันในภาษาไทย และการยืมคำ โดยมีการเปลี่ยนรูปคำในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้ได้รูปคำใหม่ใช้ในภาษาไทย This research article was conducted to examine Pali and Sanskrit loan words in the Thai language focusing on one-syllable words appearing in the 1st edition of the book entitled Nang Sue Kam Thai Tee Ma Jak Pasa Bali Lae Sansakrit (Thai Words Derived from Pali and Sanskrit Loan Words) published by the Royal Academy. The findings were found that the loaning is conducted in some forms: 1) loaning from one of the two languages (from Pali or Sanskrit); 2) loaning from both languages using (a) homographs with the same meaning of Pali and Sanskrit, (b) synonyms of Pali and Sanskrit conveying the same meaning in Thai and sharing partial meaning in Thai and (c) initiation of new words through blending method; and 3) loaning from either Pali and/or Sanskrit by transforming the original forms into Thai which are (a) initiating new word forms in Thai with different meanings and (b) transforming Pali/Sanskrit words to form new words in the Thai language.References
จิตตาภา สารพัดนึก ไชยปัญญา. (2566). ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต: การสังเคราะห์กรอบแนวคิด “ลักษณะการยืมคำในภาษาไทย”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(2), 1-16.
บรรจบ พันธุเมธา. (2523). บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
บุญธรรม กรานทอง, ทิพาภรณ์ ธารีเกษ, ชวนพิศ เชาวน์สกุล และพัชนะ บุญประดิษฐ์. (2553). คำไทยที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต. ราชบัณฑิตยสถาน.
บุญเหลือ ใจมโน. (2556). ภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย. แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ปรีชา ทิชินพงศ์. (2534). บาลี-สันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย. โอเดียนสโตร์.
พัฒน์ เพ็งผลา. (2543). บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรลักษณ์ พับบรรจง. (2532). ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.
วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2553). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืมคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วาริด เจริญราษฎร์. (2555). การลากเข้าความ: กลวิธีการนำบาลีสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 7(15), 72-74.
วิสันติ์ กฎแก้ว. (2545). ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย. พัฒนาศึกษา.
ศราวุธ หล่อดี. (2557). คำยืมภาษาสันสกฤตในนิทานเวตาล. สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.
สยาม ภัทรานุประวัติ. (2550). ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. (2558). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา (014211) ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2517). บาลี-สันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย. ไทยวัฒนาพานิช.
สุวนันท์ ลี้ปราศภัย. (2562). คำสมาสในหนังสือคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต. ในการศึกษาค้นคว้ารายวิชา 228492. ภาควิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อดุลย์ คนแรง. (2557). การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำบาลีสันสกฤตในภาษาไทย. https://www.mcu.ac.th/article/detail/371
อภิชาญ ปานเจริญ. (2559). บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.