ภาวะการทำงานและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง ต่อบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป (๔ ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา ๒๕๔๙

Situations working and chiefs/employers’ satisfaction to graduates of General Administration Program (4 years) in Public Administration, Burapha University in academic year 2006

Authors

  • ธีระพงษ์ ภูริปาณิก

Keywords:

การจ้างงาน, ความพอใจในการทำงาน, บัณฑิต

Abstract

การวิจัยเรื่อง ภาวะการทำงานและความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างต่อบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป (๔ ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา ๒๕๔๙ เป็นการวิจัยเชิงผสมระหว่างเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะการทำงานของบัณฑิตฯ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างต่อบัณฑิตฯ และเพื่อศึกษาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตฯ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป (๔ ปี) ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๑๒๓ คน และผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิตที่มีงานทำแล้วทั้งสิ้น จำนวน ๖๖ คน  ผลการศึกษามีข้อสรุป ดังนี้ ๑) จากการศึกษาเกี่ยวกับภาวะการทำงานของบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิสาขาวิชาการบริหารทั่วไป (๔ ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา ๒๕๔๙ ผู้วิจัยพบว่า บัณฑิตที่จบแล้วส่วนใหญ่ได้ทำงาน ร้อยละ ๖๒.๖ ยังไม่ได้ทำงาน ร้อยละ ๑๙.๕ กำลังศึกษาต่ออย่างเดียว ร้อยละ ๑๐.๖ และทำงานแล้วและกำลังศึกษาต่อ ร้อยละ ๗.๓ ตามลำดับ กรณีบัณฑิตที่ทำงานแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยงานเอกชน โดยทำงานในตำแหน่งพนักงานทั่วไปมากที่สุด และมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง ๘,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาท และจากการวิจัยยังพบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่มีวิธีการสมัครงานด้วยตนเอง โดยสมัครงาน ๑-๒ ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาในการได้งานทำครั้งแรกระหว่าง ๑-๓ เดือน และสาเหตุที่ทำให้ได้รับคัดเลือกเข้าทำงานคือ มีบุคลิกภาพที่ดี เช่น กิริยาวาจา ความคล่องตัวกระตือรือร้น เป็นต้น และส่วนใหญ่ได้ทำงานที่ไม่ตรงหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง/สัมพันธ์หรือไม่ได้ใช้ความรู้ทั้งวิชาเอกและวิชาโท ส่วนปัญหาที่พบในการสมัครงาน ได้แก่ สอบเข้าทำงานไม่ได้มีการอาศัยพวกพ้องในการรับเข้าทำงาน และเงินเดือนต่อค่าตอบแทนต่ำกว่าวุฒิ สำหรับบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อส่วนใหญ่ศึกษาต่อในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยบูรพามากที่สุด ร้อยละ ๒๗.๔ โดยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้มากขึ้นร้อยละ ๓๖.๔  ส่วนสำหรับบัณฑิตที่ยังไม่มีงานทำมีสาเหตุมาจากยังหางานที่ถูกใจไม่ได้ กับยังอยู่ในระหว่างการรอผลการสอบข้อเขียน/สอบสัมภาษณ์ มากที่สุด ร้อยละ ๑๙.๐  ๒) จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างต่อบัณฑิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิขาการบริหารทั่วไป (๔ ปี) มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้วิจัยพบว่านายจ้าง/ผู้บังคับบัญชาส่วนใหญ่ มีระดับความพึงพอใจต่อการทำงานของบัณฑิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างพึงพอใจอยู่ในสามอันดับแรก คือ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานและสถานที่, ความมีมนุษยสัมพันธ์, การมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต และความมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่พบว่านายจ้าง/ผู้บังคับบัญชามีระดับความพึงพอใจต่อการทำงานของบัณฑิตอยู่ในสามอันดับสุดท้าย คือ สามารถให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำในการทำงาน, ความเป็นผู้นำ และความสามารถด้านภาษาต่างประเทศตามลำดับ  This research is the study of employment situations of graduates of general administration program (4 years) in Public Administration, Burapha University in academic year 2006 and chiefs /employers’ satisfaction towards the working of those graduates. This research uses both qualitative and quantitative methodology. The author aims to study working situations of the graduates, to study chiefs/employers’ satisfaction with those graduates, and to study opinions, suggestions and ways to develop the instructional management of the curriculum of Bechelor’s Degree in Public Administration. The study population are graduated students of General Administration Program (4 years) in Public Administration, Department of Political Science, Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University in academic year 2006 (123 persons) and the chiefs/employers’ of employed graduated (66 persons). The results of the study are as follows;  1)  The author finds the employment situations of the graduates as follows; Among  all graduates studied in this research, 62.6% are employed, 19.5% are unemployed, 10.6% are further studying, 7.3% are working while studying. Regarding employed graduates, the research reveals that most of them work for private enterprises. The range of salary is at 8,000 – 10,000 baht. Moreover, most graduates directly apply for a job and take 1 or 2 times finding and getting a job. Factors that make them acquire jobs are, for example, good manners, agility, enthusiasm. Most graduates get jobs that are unrelated to major and minor subjects or jobs that do not use knowledge from those subjects. Employment problems are failing work examinations, favoritism in employment, underpaid jobs that do not corresponds to education. Regarding graduates who are further studying, most graduates (27.4%) take Political Economy or Public Administration as a major field. Most graduates (36.4%) aim to continuing education Most unemployed graduates (19.0%) are caused by two factors; They can’t find a satisfying job. They are waiting for the written and interview examination results. 2)  Regarding chiefs/employers’ satisfaction toward the graduates, the author finds That most chiefs/employers satisfy at the high level in the following factors respectively: the ability to adapt themselves to workplace, friendliness, morality honesty, helpfulness, respectively.

Downloads

Published

2024-05-15