การรับรู้ การถ่ายทอด และการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มจักสาน จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ผจงสุข เนียมประดิษฐ์
  • สุพจน์ บุญวิเศษ

Keywords:

การอนุรักษ์วัฒนธรรม, ไทย, ชลบุรี, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, หัตถกรรม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ การถ่ายทอด การรักษา รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับวัฒนธรรมการจักสานของชุมชนในจังหวัดชลบุรี ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากเอกสารการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตและจดบันทึกกลุ่มประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี ทั้งที่เป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นและผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวัฒธรรมของท้องถิ่น เช่น ครูในโรงเรียน และชาวบ้านที่เป็นผู้ถ่ายทอด เด็กและเยาวชนที่ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรม จำนวน ๓๐ คนผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้วัฒนธรรมการจักสานของท้องถิ่นแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ ลักษณะที่มีอยู่แล้วลักษณะของบุคคล และแหล่งเรียนรู้ โดยมีการเรียนรู้ภายในครอบครัว ในโรงเรียนและชุมชนเป็นหลัก 2)  ลักษณะการถ่ายทอดการจักสานในวัยผู้ใหญ่ ได้รับการถ่ายทอดในมิติทางวัฒนธรรมสังคม เช่น เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิต อาศัยดูและจำจากคนรุ่นก่อนและมีการดัดแปลงพัฒนาแก้ไขในปัจจุบัน ส่วนเด็กและเยาวชนได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยผ่านระบบโรงเรียน ครอบครัว และการรับจ้างทำผลิตภัณฑ์จักสานในชุมชน 3) การรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่น พบว่ามีความพยายามที่จะรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นการจักสานในชุมชน สำหรับปัญหาและอุปสรรคอันเกิดจากงานจักสาน คือ ให้รายได้ไม่แน่นอนและไม่มากนัก ความต้องการของตลาดไม่มากเท่าที่ควร การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดยังไม่มากนัก งานจักสานในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังไม่มีอายุการใช้งานยาวนานเท่าที่ควร เยาวชนและคนรุ่นใหม่ยังไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร รวมทั้งสภาพสังคมในชุมชน ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่นิยมทำงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีรายได้แน่นอน มากกว่าการประกอบอาชีพจักสาน

Downloads

Published

2024-05-15