รายงานวิจัยเรื่อง ผลกระทบเชิงนิเวศวิทยาจากการพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มชีตอนบน : ศึกษากรณีจังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม
Economic development and Its ecological impacts : Khon Kaen and Mahasarakham Province
Keywords:
การพัฒนาเศรษฐกิจ, ขอนแก่น, มหาสารคาม, นิเวศวิทยา, ลุ่มน้ำชี, นิเวศวิทยาลำน้ำAbstract
งานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศตามลำน้ำชีตอนบนในเขตจังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม และเพื่อศึกษารูปแบบผลกระทบของประชาชนที่อาศัยตามลำน้ำชีตอนบนจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศดังกล่าว โดยตั้งคำถามวิจัยว่าคุณภาพน้ำของลำน้ำชีที่เสื่อมโทรมลงมีผลต่อระบบนิเวศและรูปแบบการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของประชาชนตามลำน้ำ ผู้วิจัยได้ศึกษาคุณภาพน้ำและรูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชนตามลุ่มน้ำชีตอนบน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม ศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ผ่านการใช้รูปแบบวิธีการศึกษาตามแนวทางวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) โดยอาศัยการรวบรวมจากแหล่งข้อมูล ๓ ส่วนหลัก ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจตามลุ่มน้ำชีส่งผลเสียในเชิงระบบนิเวศคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำใกล้เคียงในจังหวัดขอนแก่นและมหาสารคามตกต่ำลง สาเหตุหลักมาจากน้ำเสียที่โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากปล่อยลงแหล่งน้ำโดยขาดการบำบัดที่เหมาะสม และน้ำเสียที่เกิดจากแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ชุมชนเหล่านี้ปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำโดยขาดการบำบัดที่เหมาะสม สาเหตุรองลงมาได้แก่ การทำประมงน้ำจืดเลี้ยงปลาตามกระชังในลำน้ำชีและลำน้ำสาขา นอกจากนี้การใช้สารเคมีในการเพาะปลูกและตกค้างถูกน้ำฝนชะลงแหล่งน้ำก็เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้คุณภาพน้ำตกต่ำลง ผู้วิจัยพบว่าน้ำเสียส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญคือประชาชนตามริมฝั่งลำน้ำชีและลำน้ำสาขาต่างขาดรายได้จากการประมงน้ำจืด เนื่องจากปริมาณปลาตามธรรมชาติเหล่านี้มีจำนวนลดลงปัญหาน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงในกระชังตาย ประชาชนไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้น คือ การสลายความเข้มแข็งของชุมชนด้วยพลังของทุนทางเศรษฐกิจ และอิทธิพลทางการเมืองของกลุ่มทุนที่จ้างงานกลุ่มคนหนุ่มสาวในชุมชนเข้าทำงานในโรงงานที่ทำลายระบบนิเวศ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือข้าราชการระดับสูง นักการเมืองระดับท้องถิ่นเพื่อสลายการรวมตัวของกลุ่มประชาสังคมในท้องถิ่น ผู้วิจัยเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยการสร้างเครือข่ายประชาสังคมในระดับลุ่มน้ำซึ่งประกอบด้วยภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในรูปแบบของการจัดการลุ่มน้ำ This research aims to study the changing of ecology in Chee river that flows through Khon Kaen and Mahasarakham province together with to study is ecological impacts upon the people who live near by the bank of Chee river in these two provinces. This research has conducted under the belief that waste water contributes to the deterioration of the ecology and triggers to the changing ways of living for the people there. There. Through qualitative methodology by having in-depth interviewed the key informants and the selected people observing them and exploring all related academic documents and fact concerning the watershed management. The researcher come across that industrial development the modernization and the fishery in cage came with waste water, without properly treated, from the industries and the enlarged urbanization along both side of Chee river, are the main factor that have brought about the polluted water in Chee river, shown by scientific indicators. Within three decades, waste water has negatively impacted ecology in Chee river and effected the way people live. They barely utilize the water and waste water have caused the diminishing in either of the numbers of fish or the large varieties of fish in Chee river. The government in all level lacked the proper and adequate measures to cope with this problem. A numbers of villagers in local community, affected by the polluted water from the industries, had protested to the industries but end with their loss. The industries have mobilized the people in to the community in order to weaken the protester through assimilation co-optation and threatening the villager. To overcome this problem this research comes across that the watershed management, with the participation of all stakeholders, is the best way on hand to tackle with.Downloads
Published
2024-05-15
Issue
Section
Articles