ภาวะโลกร้อน...ขั้นวิกฤต

Authors

  • วัชราภรณ์ เขื่อนแก้ว

Keywords:

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก, ความร้อน, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, ภาวะโลกร้อน

Abstract

ภาวะโลกร้อน เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวและบรรยากาศโลกสูงขึ้นกว่าเกณฑ์เฉลี่ยในภาวะปกติ ภาวะโลกร้อนเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศของโลก เกิดเป็นช่วง ๆ สลับภาวะโลกเย็น (ยุคน้ำแข็ง) จะเห็นว่าภาษาอังกฤษใช้คำว่า Global warming (การอุ่นขึ้นของโลก) แทนที่จะใช้คำว่า Global heating (การร้อนขึ้นของโลก) ดังนั้นภาวะโลกร้อน เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดมาแล้วหลายครั้งในอตีด เมื่อประมาณ 125,000 ปีที่ผ่านมา เคยเกิดภาวะโลกร้อนเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน อุณหภูมิบริเวณขั้วโลกในยุคนั้นสูงกว่าในปัจจุบัน ผลจากภาวะโลกร้อนในครั้งนั้น ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 4-6 เมตร หลักฐานจากธารน้ำแข็งมหึมาที่ชื่อว่าเอพิกา (EPICA) ในทวีปแอนตาร์กติก ระบุว่าธารน้ำแข็งเอพิกามีอายุไม่ต่ำกว่า 800,000 ปี และผ่านยุคน้ำแข็งมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ครั้ง ระหว่างยุคน้ำแข็งแต่ละยุคเป็นช่วงเวลาที่โลกอบอุ่นขึ้น และธารน้ำแข็งหดตัวซึ่งเทียบได้กับข่วงเวลาปัจจุบันนี้ที่โลกอยู่ช่วงอบอุ่น ธารน้ำแข็งละลาย ยุคน้ำแข็งยุคล่าสุดอยู่ในสมัยไพลส์โตซีน (Pleistocene Epoch) ซึ่งผ่านมาประมาณ 11,000 ปี ย้อนอตีดไปในยุคจูรัสสิก (Jurassic Period) เมื่อ 180 ล้านปีมาแล้ว โลกประสบกับภาวะโลกร้อนจากผลของก๊าซเรือนกระจกที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก อุณหภูมิในยุคนั้นสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั่วไปถึง 5 ºc อุณหภูมิที่ร้อนขนาดนั้น ทำให้หินบนพื้นผิวโลกผุพังเร็วขึ้นอีก 4 เท่าตัว การผุพังของหินทำให้คาร์บอนถูกกักเก็บไว้ในรูปของแคลไซต์ (CaCo3) และโดโลไมต์ (Dolomite) ปริมาณคาร์บอนในอากาศจึงค่อย ๆ ลดลง จนเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 150,000 ปี ภาวะโลกร้อยอีกครั้งในสมัยพาลีโอซีน-อีโอซีน (Paleocene-Eocene epoch) เมื่อ ๕๕ ล้านปี ที่ผ่านมา เกิดจากก๊าซมีเธนที่แตกตัวจากสารประกอบคลาเธรต (Clathrate) เป็นปริมาณมากเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ

Downloads

Published

2024-05-17