การศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นโครงการศึกษาเชิงสำรวจอ่างเก็บน้ำมาบหวายโสม และอ่างเก็บน้ำห้วยไข่เน่า จังหวัดชลบุรี

Authors

  • เกรียงศักดิ์ พราหมณ์พันธุ์

Keywords:

อ่างเก็บน้ำ, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, อ่างเก็บน้ำมาบหวายโสม, อ่างเก็บน้ำห้วยไข่เน่า, ชลบุรี

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ในการสร้างอ่างเก็บน้ำมาบหวายโสมและอ่างเก็บน้ำห้วยไข่เน่า จังหวัดชลบุรี จากการที่จังหวัดชลบุรีถูกจัดให้เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว และเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น นิคมแหลมฉบัง ทำให้มีการขยายตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน เป็นสาเหตุให้ความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนมีมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ฯลฯ โดยเฉพาะน้ำประปาและน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมและการเกษตร สำหรับบริเวณเมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง มีแหล่งน้ำที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างไว้แล้วที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำมาบประชัน อ่างเก็บน้ำชากนอก อ่างเก็บน้ำหนองกลางดง อ่างเก็บน้ำห้วยขุนจิต และอ่างเก็บน้ำห้วยสะพาน โดยมีโรงกรองน้ำ 3 แห่ง คือ โรงกรองน้ำหนองกลางดง โรงกรองน้ำมาบประชัน และโรงกรองน้ำชากนอก เพื่อใช้สำหรับผลิตน้ำประปา แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำที่เพิ่ม สำนักชลประทานที่ 9 ได้เล็งเห็นความจำเป็นจะต้องจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทั้งเพื่อการท่องเที่ยว การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรมและการเกษตร ในเขตพื้นที่เมืองพัทยาและพื้นที่ใกล้เคียง จึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาเพื่อหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ในการสร้างอ่างเก็บน้ำมาบหวายโสม และอ่างเก็บน้ำห้วยไข่เน่า จังหวัดชลบุรี เพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มหรือประเด็นที่สำคัญตามความจำเป็นในการพัฒนาอ่างเก็บน้ำ พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น ในระยะการก่อสร้างและหลังการก่อสร้าง ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการป้องกันผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศและอุทกวิทยาน้ำผิวดิน โดยระยะการก่อสร้างต้องมีการควบคุมฝุ่นละอองและควันจากเครื่องจักร ความเร็วของรถ การปรับปรุงผิวจราจร ในการวางท่อส่งน้ำกำหนดให้เป็นท่อคอนกรีตเพื่อป้องกันปัญหาการรั่วซึม การแตกหักเสียหายจากความเร็วของน้ำ บริเวณจุดตัดของท่อส่งน้ำกับลำน้ำอื่น และจุดตัดท่อส่งน้ำกับถนนให้ใช้ท่อส่งน้ำลอดไต้ถนน การปลูกพืชคลุมดินป้องกันการกัดเซาะพังทลายของดิน การสร้างคันดินและบ่อดักตะกอน ระบบสุขาภิบาลที่ถูกสุขลักษณะ การควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยของเสียลงในอ่าง การระบายน้ำเสียจากอ่าง การสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม ด้านระบบนิเวศวิทยาทางน้ำและการประมง ให้มีการสร้างคูดักตะกอนรอบพื้นที่ที่มีการเปิดหน้าดินหรือขุดตัก ห้ามไม่ให้มีการประมงใด ๆ บริเวณต้นน้ำเหนือเขื่อนและให้มีการควบคุมปริมาณการทำประมงให้ถูกวิธีและให้มีการควบคุมวัชพืชน้ำ ด้านการเกษตรและการชลประทานให้มีการควบคุมการใช้น้ำตามความจำเป็นและปริมาณที่พืชต้องการ การตั้งคณะกรรมการจัดสรรน้ำเพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการจัดสรรน้ำ ควบคุมการใช้ปุ๋ยและสารเคมีในการปราบศัตรูพืช ควบคุมการชะล้างสิ่งสกปรกและสารพิษลงในน้ำ ควบคุมการระบายน้ำจากชุมชนและอุตสาหกรรม มีการปรับปรุงระบบระบายน้ำ โดยการขุดลอกคลองและซ่อมแซมอาคารระบายน้ำในคลองต่าง ๆ การใช้ผนังกั้นตามแนวแม่น้ำและเสริมคันดินเดิมที่มีอยู่บริเวณพื้นที่โครงการ ด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีการประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจขั้นตอนและระยะเวลาในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแนะนำเกษตรกรปลูกพืชระยะสั้น ประสานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้คำปรึกษาแนะนำช่วยเหลือ กำหนดช่วงเวลาและเส้นทางที่ใช้ในการอพยพ ประสานจัดหายานพาหนะในการขนย้าย ในด้านการศึกษาให้ประสานสถานศึกษาเดิมเพื่อให้ความช่วยเหลือ สำหรับความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อประชาชนมาอยู่รวมกัน โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกและจัดระบบการอยู่รวมกัน ให้ความรู้ในเรื่องสิทธิบทบาทและกฎระเบียบต่าง ๆ ด้านการชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน มีจำนวนผู้ได้รับผลกระทบในการสร้างอ่างเก็บน้ำมาบหวายโสม รวมทั้งสิ้น 111 แปลง เนื้อที่รวม 1,176.22 ไร่ และอ่างเก็บน้ำห้วยไข่เน่า ผู้ได้รับผละกระทบรวมทั้งสิ้น 56 แปลง เนื้อที่รวม 377.8 ไร่ ควรมีการชี้แจงทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งพร้อมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย กองกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน สำนักงานที่ดินจังหวัด นายอำเภอ และผู้แทนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกำหนดค่าชดเชยที่ดินและทรัพย์สินให้ยุติธรรมและเหมาะสมต่อไป  This study aims to find out environmental impacts of constructing Mab Wai Som and Huay Khai Nao reservoirs in Chon Buri Province. Since Chon Buri Province, particularly Pattaya District and Laem Chabang Industrial Estate, considered a tourist and industrial area, there has been a rapid and continuous expansion in all areas. This has brought about the increase of people’s basic needs, especially public utilities such as electricity, water, and so no. Focusing on tap water and unboiled water to be used in industries and agriculture, the important reservoirs built in Pattaya District and nearby to serve those purposes are Mab Prachan, Chak Nork, Nong Kalng Dong, Huay Khun Chit, and Huay Saphan. There are also three pump houses: Nong Klang Dong, Mab Prachan, and Chak Nork, to produce the tap water in this area. With may reservoirs and pump houses, however, it is still inadequate to meet the people’s need for water. The Office of Regional Irrigation 9 has, therefore, realized that there needs to be additional water resources to respond to the needs for water of the people to be used for consumption, tourism, industries, and agriculture, In building Mab Wai Som and Huay Khai reservoirs in Chon Buri Province, it is essential to study if there are any impacts on the environment in order to improve the reservoirs and provide practices to reduce the problems that might affect the environment during and after the construction The findings of the study are the ways to prevent the impacts on climate, groundwater hydrology, aquatic and fisheries ecosystems, economics and society; and land and asset compensations from the construction of Mab Wai Som and Huay Khai Nao reservoirs.  The study reveals major ways in which effects on the climate and hydrological conditions of water and soil surface can be prevented; that is, during the construction period there must be strict controls over dust and smoke from machinery, speeding automobiles and traffic surface works. In laying the aqueducts, concrete pipes must be used in order to prevent leaks, breakages and other damages due to water pressure. Where the aqueduct intersects with another watercourse, or with another watercourse, or with a road, the aqueduct must be laid underground.  Other recommendations include (i) growing soil-covering vegetation to prevent erosion, (ii) building ridges and cesspools, (iii) creation a proper sanitary system, (iv) controlling factories, release of industrial waste into the reservoir, (v) releasing wastewater from the reservoir and (v) building a central wastewater treatment system.  Concerning hydro-ecology and piscatorial ecology, it is recommended that a sediment-trapping moat be constructed round the area where soil has been up-turned or excavated. In addition, any form of fishery in the watershed area above the dam is prohibited, whilst other forms of fishery must be monitored to ensure appropriate practice, and aquatic weeds curbed.  Regarding agriculture and irrigation, it is recommended that (i) the use of water be controlled to only meet the needs of plants, (ii) a water-allocation committee be appointed to alleviate water consumption disputer, (iii) the use of fertilizers and pesticidal chemicals be monitored, (iv) the washing of filthy and toxics into waterways be strictly controlled, (v) the drainage from communities and industrial areas be controlled, (vi) water drainage systems be improved through dredging and repairing drainage facilities in waterways, and (vii) levees be constructed along the river to support the existing soil embankments in the project area. Economically and socially, it is suggested that (i) the public be informed of the steps and time span required for the construction of the reservoir, (ii) agriculturalists be advised to grow quick-yielding crops, (iii) agricultural promotion officers be coordinated to provide counsel and assistance, (iv) the time and route of evacuation be fixed, and (v) evacuation transportation be prepared.  Concerning education, the existing education institutions should be asked to step in to alleviate any dispute that may arise when the evacuees assemble; mean while, other related organistions should be contacted to facilitate and organize the newly assembled community by advising the people about rights, role and regulations. With regard to land and property, 111 plots of land amounting to 1,176.22 rais are affected by the construction of Mab Wai Som reservoir, and 56 plots of land amounting to 377.8 rais are affected by the construction of Huay Khai Nao reservoir. Explanations must be made to inform the affected people of the details of compensation, in order to reduce conflicts. Moreover, a committee should be appointed which comprises the Division of Law and Land of the Department of Irrigation, Provincial Land Office, District chief, and relevant local representatives in order to determine proper compensations for the affected people’s land and properly.

Downloads

Published

2024-05-17