รัฐ-มัชฌิมา: มอง “ความพอเพียง” ผ่านหลัก “ทางสายกลาง” ของอริสโตเติล

Authors

  • นิติ มณีกาญจน์

Keywords:

อริสโตเติล, ก่อน ค.ศ.384-322, การเมือง, ปรัชญา, รัฐศาสตร์, สังคมวิทยาการเมือง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง “ความพอเพียงในตัวเอง” โดยใช้วิธีการตีความเพื่อหาความหมายของแนวคิดเรื่อง “ทางสายกลาง” ของอริสโตเติล เนื่องจากว่าความพอเพียงกับทางสายกลางนั้นมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงดังนั้น เมื่อเข้าใจความหมายของทางสายกลางแล้วย่อมจะนำไปสู่ความเข้าใจเรื่องของความพอเพียงได้ด้วย ผลจากการศึกษาพบว่า ตามทัศนะของอริสโตเติลนั้น แนวคิดเรื่องความพอเพียงเป็นลักษณะของคุณธรรม และเป็นหลักปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายสุดท้ายของมนุษย์ นอกจากนี้หลักดังกล่าวยังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับรัฐ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องขนาดพื้นที่ที่พอเพียง เศรษฐกิจที่พอเพียง หรือรูปแบบการปกครองที่มุ่งให้ชนชั้นที่มีความพอเพียงในตัวเองมีบทบาทหลักในการปกครองทั้งนี้เพื่อให้รัฐสามารถเป็นพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหาความสุขของมนุษย์ได้อย่างพอเพียง  The main purpose of this study is to understand about “self-sufficiency” concept (autarky)” by using hermeneutic approach to finds meaning on “The Doctrine of Mean” of Aristotle’s idea. Because of “sufficiency concept” and “The Doctrine of Mean” are related directly, hence, when we understood “The Doctrine of Mean,” we can also understand the meaning of “sufficiency concept” in reflective way automatically. This study has been found that, according to Aristotle’s notion, “sufficiency concept” is a kind of characteristics of virtues and the principle practicing for human final goal. In addition, this principle also used by applying with state throughout the notion of sufficient area, sufficient economy, or the form of government governed by specific class that has a sufficient life displaying an important role. By using this principle, the state will be an area provided for seeking happiness of all human sufficiently.

Downloads

Published

2024-05-29