การติดตามและประเมินผล ผลกระทบสิ่งแวดล้อมการก่อสร้างเขื่อนโครงการประแสร์ จังหวัดระยองตามมติคณะรัฐมนตรี: บทคัดย่อ

Authors

  • เกรียงศักดิ์ พราหมณ์พันธุ์

Keywords:

เขื่อน, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม, ไทย, ระยอง

Abstract

ในปี พ.ศ. 2523 กรมชลประทานได้จัดทำรายงานการพิจารณาความเหมาะสมเบื้องต้น โครงการชลประทานคลองประแสร์เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรในชนบทภาคตะวันออก ซึ่งนโยบายหลักในครั้งนั้น คือ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรมโดยเฉพาะในการทำนา จึงได้พิจารณาให้มีการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดความจุ 220 ล้าน ลบ. ม. ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อส่งน้ำให้แก่พื้นที่ชลประทานด้านท้ายน้ำประมาณ 150,000 ไร่ ซึ่งในการศึกษาครั้งนั้นเป็นเพียงการพิจารณาขั้นเบื้องต้น โดยเน้นหนักไปทางด้านวิศวกรรม และยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งสภาพสิ่งแวดล้อมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปประกอบกับการเกิดปัญหาความแห้งแล้งในภาคตะวันออก โดยเฉพาะที่จังหวัดระยองกรมชลประทานได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎรโดยเฉพาะชาวสวนผลโม้ ดังนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างให้ บริษัท ทีม คอนซัลติ้งเอนจิเนียร์ จำกัด ทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการประแสร์ โดยใช้เวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 12 เดือน ในการศึกษาความเหมาะสมนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำไว้เพื่อทำการเกษตรกรรมในพื้นที่ชลประทานของโครงการเป็นหลักวัตถุประสงค์รองลงมา ได้แก่ เพื่อการอุปโภคบริโภค การพัฒนาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเพื่อบรรเทาอุทกภัย และป้องกันการรุกตัวของน้ำเค็ม พื้นที่โครงการครอบคลุมในเขตอำเภอวังจันทร์ และอำเภอแกลง จังหวัดระยองที่ปัจจุบันพบว่าพื้นที่โครงการทั่วไปปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน มังคุด และเงาะ เป็นต้น ปัญหาหลักของพื้นที่โครงการ ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะเขตพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำประแสร์ อันดับรองลงมาได้แก่ ปัญหาอุทกภัย โดยมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายอยู่บริเวณด้านเหนือของถนนสุขุมวิททั้งสองฝั่งของแม่น้ำประแสร์ และปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็มมาตามลำน้ำประแสร์และลำน้ำสาขา ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นนาข้าวบริเวณตอนล่างของโครงการได้รับความเสียหาย

Downloads

Published

2024-05-29