ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณศิลป์กับคีตศิลป์ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน

The Relationship Between the Literary Art and Musical Art in Khun Chang Khun Phaen

Authors

  • โยมโดย เพ็งพงศา

Keywords:

ขุนช้างขุนแผน, วรรณคดี, สุนทรียศาสตร์, วรรณคดีไทย

Abstract

ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่ใช้ขับเสภา บทความวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวรรณศิลป์กับคีตศิลป์ โดยการศึกษาองค์ประกอบของวรรณคดีเรื่องขุนข้างขุนแผนในแง่การแต่งเพื่อใช้ขับเสภา จากการศึกษาพบว่า ความสามารถของกวีในการประสานองค์ประกอบของบทเสภาได้เหมาะส่วน ช่วยให้สามารถขับเสภาให้เกิดรสต่าง ๆ ได้สอดคล้องกลมกลืนกับเรื่องแต่ละตอน จนสามารถพิสูจน์ได้ว่า วรรณศิลป์และคีตศิลป์ต่างมีบทบาทในการช่วยเสริมคุณค่าแก่กันและกัน อันเป็นผลให้วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนมีความเป็นเลิศในประเภทกลอนสุภาพ ตามที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6  Khun Chang Khun Phaen is a literary work composed for Sepa singing. The purpose of this research is to study the relationship between the literary art and musical art of this particular work through its literary components on the aspect of its musical purposes. It is found that the poets’ ability in combining together the components of the Sepa words appropriately enables the Sepa singers to create in their singing various emotions in harmony with the plot of each part. It is here proved that the literary art and musical art both play equally important roles supporting each other, resulting in the outstanding quality of Khun Chang Khun Phaen among all literary works composed in Klon Suphap, as awarded by the Literature Club (Wannakhadi Samosorn) in the reign of King Rama VI.

Downloads

Published

2024-06-05