ทัศนคติทางภาษา : การพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ
Keywords:
ภาษาไทย, การใช้ภาษาAbstract
เมื่อสังคมต่างภาษามีการแลกเปลี่ยนวิทยาการตลอดจนวัฒนธรรมต่าง ๆ ภาษาย่อมเกิดการถ่ายเทจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากหน้าที่หลักของภาษาคือสื่อสำคัญในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง ประเทศไทยได้มีการติดต่อกับนานาอารยประเทศมาเป็นเวลาช้านานทำให้เกิดการถ่ายเททางด้านภาษาและวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ดังจะเห็นได้จากการที่มีคำศัพท์ภาษาต่างประเทศในภาษาไทยเป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะคำศัพท์จากภาษาอังกฤษที่มีการบัญญัติเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับในอดีต (อัจฉรา วงษ์โสธร, 2527, น.12) ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคแห่งสารสนเทศที่การสื่อสารเป็นไปอย่างไร้พรมแดน การสัมผัสระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษจึงมีเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในภาษาไทยหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การยืมศัพท์ (lexical borrowing) ภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยในรูปแบบของการปนภาษา (code-mixing) ซึ่งการปนภาษา หมายถึง การที่ผู้พูดนำส่วน (pieces) ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคำ วลี หรือส่วนที่ใหญ่กว่าวลีมาปนในอีกภาษาหนึ่ง (Gumperz,1977 อ้างใน Fasold, 1987, p.18)Downloads
Published
2024-06-07
Issue
Section
Articles