อักษร “ลายปาว” ตัวอักษรกลุ่มคนไท ในจังหวัดเงห์อานประเทศเวียดนาม

Authors

  • อรรถ นันทจักร์

Keywords:

ตัวอักษร, ภาษาเวียดนาม

Abstract

ปัจจุบันในบรรดาตัวอักษรที่เรารู้จักที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนแล้วแต่มีรากเหง้าทางภาษามาจากจุดกำเนิดเดียวกันคือประเทศอินเดียในศตวรรษที่ 1 หลังคริสต์ศักราชการขยายตัวของอักษรดังกล่าวยิ่งขยายตัวมากขึ้นและได้มีการแยกออกเป็นอักษรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมอญ เขมร จาม และภายหลังอักษรดังกล่าวได้ขยายไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาคที่เหลืออยู่ในบรรดาชนเผ่าที่พูดภาษาพม่า ภาษาไทย ปัจจุบันถึงแม้จะมีภาษาที่แตกต่างกันอย่างมากก็เห็นได้ชัดว่ามีรากเหง้ามาจากที่เดียวกัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถดูได้ตั้งแต่ศตวรรษแรก โดยสามารถดูได้จากวัสดุและเทคนิคที่ใช้ในการบันทึก ถึงแม้ว่าการบันทึกจะมีการใช้วัสดุที่แตกต่างกัน เช่น การจารด้วยโลหะหรือการจารด้วยขนนกลงบนกระดาษก็ตาม หากไม่นับอักษรจามที่ผู้เชี่ยวชาญได้แบ่งประเภทตัวอักษรในเอชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มอักษรมอญและกลุ่มอักษรเขมร โดยอักษรมอญจะปรากฎราวศตวรรษที่ 6-7 อยู่ที่ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศอินเดียและมอญ มอญคือรากเหง้าของพม่าจะอย่างไรก็ตามในการสร้างอักษรเหล่านี้ในพื้นที่ต่าง ๆ ก็จะมีความแตกต่างกันอย่างมาก เช่น ทางภาคเหนือ ของพม่า (พวกฉาน ไทเมา ไทเหนือ) หรือในอัสสัม และนอกจากนั้นยังเป็นต้นแบบของอักษรลื้อขืนและอักษรธรรมล้านนา หรือตัวคำเมืองทางภาคเหนือ  

Downloads

Published

2024-06-10