https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/issue/feed วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2024-05-13T07:19:59+00:00 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ journal.Libbuu@gmail.com Open Journal Systems https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9759 รูปแบบ หน้าที่ และความสัมพันธ์ทางความหมายของคำปฏิญาณตนในหน้าที่และอาชีพในสังคมไทย 2024-05-13T06:30:56+00:00 ขจิตา ศรีพุ่ม journalLibbuu@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ หน้าที่ และความสัมพันธ์ทางความหมายของคำปฏิญาณตนในหน้าที่และอาชีพในสังคมไทย โดยเก็บข้อมูลคำปฏิญาณตนในหน้าที่และอาชีพของคนไทยจากเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการและเอกชนในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 รวมจำนวน 35 คำปฏิญาณ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของถ้อยคำปฏิญาณตนเป็นร้อยแก้ว ใช้กลวิธีแบบพรรณนาโวหารและบรรยายโวหารมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การออกนามตนเอง การกล่าววัจนกรรมผูกมัด การกล่าวคำมั่นในการประพฤติตนและการกล่าวคำมั่นในการไม่ประพฤติตน การแสดงเหตุ-ผลแห่งการกระทำตามคำมั่น การกล่าวอ้างกฎระเบียบ มาตรฐานวิชาชีพหรือบัญญัติต่าง ๆ และการออกนามอาชีพ ผลการศึกษาหน้าที่ของ คำปฏิญาณตน พบว่ามี 3 หน้าที่ ได้แก่ หน้าที่สั่งสอนการประพฤติตน หน้าที่แสดงความเป็นพวกเดียวกัน และหน้าที่สร้างความเชื่อมั่นและไว้เนื้อเชื่อใจ การจัดหมวดหมู่ทางความหมายของคำศัพท์สามารถจัดได้ 8 หมวดหมู่ ได้แก่ หมวดความหมาย “จริยธรรม” “การดูแล” “คำแทนตน” “ความตั้งมั่น” “ศีลธรรม” “ดินแดน” “ระบอบการปกครอง” และ “ความภาคภูมิใจ”&nbsp; The research investigates the structure, purpose, and semantics relations within Thai society’s pledge of duties and careers from October to November 2023. Data was collected from government and private agencies’ websites, resulting in 35 pledges. The findings indicate a prose style, utilization of descriptive rhetoric, and rhetorical strategies. The Pledge has six components: saying names, commissive speech acts, a pledge to behave and not to behave, saying cause-effect of fulfilling promises, citing professional standards or regulations, and saying the profession’s name. The pledges encompass 3 duties: guiding personal behavior, fostering solidarity, and instilling confidence and trust. The study categorizes word meanings into 8 groups: “ethics,” “care,” “self-representation,” “determination,” “morality,” “territory,” “regime,” and “pride.”</p> 2024-05-13T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9760 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการปฏิบัติตามศาสตร์พระราชาของประชาชน 2024-05-13T06:41:09+00:00 คมสัน รัตนะสิมากูล journalLibbuu@gmail.com อัญมณี ภักดีมวลชน journalLibbuu@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน และ 2) ศึกษาอิทธิพลของทัศนคติต่อแนวทางของศาสตร์พระราชา การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการปฏิบัติตามแนวของศาสตร์พระราชา ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการปฏิบัติตามแนวทางของศาสตร์พระราชาสูงสุด คือ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (0.807) และทัศนคติต่อแนวทางศาสตร์พระราชา (0.727) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) ผลการวิเคราะห์อิทธิพลที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการปฏิบัติตามแนวทางของศาสตร์พระราชา พบว่า เพศ อายุ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเป็นปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ร่วมกันได้ร้อยละ 71.80&nbsp; The objectives of this study were: 1) to study the relationship between the variables used in the study according to the theory of planned behavior and 2) to study the influence of attitudes on the approach of King’s philosophy. Amenable to reference groups’ Perceptions of the ability to control behavior that affects behavioral intentions by the lines of King’s philosophy. This research is quantitative, conducted by conducting survey research and collecting questionnaires from a sample group in Chiang Rai Province. The researcher used a random sampling method of 400 people. The study’s results found that the variable with the highest relationship with behavior following King’s philosophy guidelines is conformity to the reference group (0.807). Furthermore, the attitude towards King’s philosophy approach (0.727) is at the statistical significance level of 0.01. Then, the results of the analysis of influences on behavioral intentions and compliance with the guidelines of the King’s Science. It found that gender, age, attitude, conformity to the reference group, and perceived ability to control behavior were factors that could together predict 71.80%.</p> 2024-05-13T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9761 คำยืม : กรณีศึกษาลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย 2024-05-13T06:46:01+00:00 จิตตาภา สารพัดนึก ไชยปัญญา journalLibbuu@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย โดยรวบรวมคำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตเฉพาะที่เป็นคำเดี่ยวใน “หนังสือคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต” ที่จัดพิมพ์เผยแพร่โดยราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 ผลการวิจัยพบลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย คือ 1) การยืมคำจากภาษาใดภาษาหนึ่ง แบ่งออกเป็นการยืมคำจากภาษาสันสกฤต การยืมคำจากภาษาบาลี 2) การยืมคำจากทั้งสองภาษา แบ่งออกเป็นการยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีรูปคำและความหมายเหมือนกัน การยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีรูปคำต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน ซึ่งในกรณีนี้แบ่งย่อยได้เป็น การยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมาใช้ในความหมายเดียวกันในภาษาไทย การยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมาแยกความหมายใช้ในภาษาไทย และการยืมคำจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมาสร้างรูปคำใหม่โดยวิธีการผสมผสาน (blending) และ 3) การยืมคำจากภาษาบาลีและ/หรือภาษาสันสกฤตแล้วมีการเปลี่ยนรูปคำในภาษาไทย แบ่งออกเป็น การยืมคำโดยมีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อให้ได้รูปคำใหม่ที่มีความหมายแตกต่างกันในภาษาไทย และการยืมคำ โดยมีการเปลี่ยนรูปคำในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้ได้รูปคำใหม่ใช้ในภาษาไทย&nbsp; This research article was conducted to examine Pali and Sanskrit loan words in the Thai language focusing on one-syllable words appearing in the 1<sup>st</sup>&nbsp;edition of the book entitled Nang Sue Kam Thai Tee Ma Jak Pasa Bali Lae Sansakrit&nbsp;(Thai Words Derived from Pali and Sanskrit Loan Words)&nbsp;published by the Royal Academy. The findings were found that the loaning is conducted in some forms: 1) loaning from one of the two languages (from Pali or Sanskrit); 2) loaning from both languages using (a) homographs with the same meaning of Pali and Sanskrit, (b) synonyms of Pali and Sanskrit conveying the same meaning in Thai and sharing partial meaning in Thai and (c) initiation of new words through blending method; and 3) loaning from either Pali and/or Sanskrit by transforming the original forms into Thai which are (a) initiating new word forms in Thai with different meanings and (b) transforming Pali/Sanskrit words to form new words in the Thai language.</p> 2024-05-13T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9762 สัญญะทางร่างกายของผู้พิการในภาพยนตร์โฆษณา 2024-05-13T06:49:47+00:00 บดินทร์ เดชาบูรณานนท์ journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาการประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะทางร่างกายของผู้พิการในภาพยนตร์โฆษณา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์ตัวบทที่มุ่งเน้นการนำเสนอร่างกายผู้พิการเป็นตัวละครหลักในเรื่อง ประกอบด้วย ร่างกายที่มีความพิการทางการมองเห็น ร่างกายที่มีความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ร่างกายที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย และร่างกายที่มีความพิการทางการเรียนรู้ จำนวน 6 เรื่อง โดยใช้กรอบแนวคิด ได้แก่ แนวคิดเรื่องร่างกายของผู้พิการ แนวคิดเรื่องสัญวิทยาและการเล่าเรื่อง และแนวคิดเรื่องการโฆษณา ผลการวิจัยพบว่า การสื่อความหมายเชิงสัญญะทางร่างกายของผู้พิการในภาพยนตร์โฆษณา แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ร่างกายที่อ่อนแอน่าสงสาร คือ เจ้าของร่างกายช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ซึ่งเป็นความพิการทางร่างกายที่ส่งผลต่อจิตใจ ความพิการทางร่างกายกลายมาเป็นข้อจำกัดของการใช้ชีวิตหรือการมีส่วนร่วมกับคนในสังคม 2) ร่างกายที่ต้องพิสูจน์ความสามารถ คือ แม้คนในสังคมจะปฏิเสธร่างกายที่พิการ แต่คนพิการได้มีการพิสูจน์ร่างกายเพื่อให้สังคมยอมรับในความรู้ ความสามารถ สามารถใช้ชีวิตปกติเหมือนกับคนทั่วไป 3) ร่างกายที่มีศักยภาพเทียบเท่าคนทั่วไป คือ เป็นการก้าวข้ามขีดจำกัดของร่างกาย กลายเป็นร่างกายที่เปี่ยมด้วยความสามารถ มีคุณค่าน่าชื่นชม สามารถสร้างอาชีพและรายได้&nbsp; This research aimed to study the significance of the bodies of people with disabilities in television commercials using qualitative research methods by analyzing the textual analysis that focuses on presenting the disabled body as the main character in the story, consisting of a visually impaired body. Bodies with hearing or communication disabilities, bodies with mobility or physical disability, and bodies with learning disabilities, a total of 6 stories using a theoretical framework, including the concept of the body of people with disabilities, concepts of semiotics, and storytelling and advertising concepts. The research results found that the symbolic interpretation of the body of the disabled in commercials can be divided into three forms: 1) weak body and pitiful, that is, the owner of the body is unable to help himself, which is a physical disability that affects the mind physical disability has become a constraint on living life or participating in society. 2) A body that must prove its abilities; that is, even though people in society reject disabled bodies, people with disabilities have had their bodies proven so that society accepts them in their knowledge, ability, and ability to live everyday life like ordinary people. 3) A body with the same potential as an average person is a step beyond the body’s limits. Becoming a body full of abilities with admirable value can create a career and income.</p> <p>&nbsp;</p> 2024-05-13T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9763 สื่อท้องถิ่นกับการแสดงความเป็นสื่อท้องถิ่นในภาวะชุมชนประสบภัยพิบัติ 2024-05-13T06:54:24+00:00 ภัทรา บุรารักษ์ journalLibbuu@gmail.com <p>การสื่อสารภัยพิบัติถือเป็นหน้าที่หนึ่งของสื่อท้องถิ่นที่สะท้อนบทบาทความเป็นสื่อท้องถิ่นให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ แต่เหตุใดเมื่อชุมชนท้องถิ่นประสบกับภัยพิบัติ กลับพบว่าแทบไม่เห็นความคาดหวังและการเรียกร้องให้สื่อท้องถิ่นทำหน้าที่เหมือนที่เกิดขึ้นกับสื่อกระแสหลักระดับชาติ สาเหตุดังกล่าวนั้นอาจเป็นเพราะการแสดงบทบาทของสื่อท้องถิ่นยังไม่เพียงพอ บทความนี้จึงศึกษาการรายงานเหตุการณ์ที่มีคุณค่าข่าวสูง คือ ช่วงที่ชุมชนประสบวิกฤติน้ำท่วมและฝุ่นควัน PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของสื่อท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยา จำนวน 5 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจถึงบทบาทของสื่อท้องถิ่นในยามที่ชุมชนประสบปัญหาภัยพิบัติผ่านการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และศึกษาการนำเสนอเนื้อหาที่ตอบสนองชุมชนท้องถิ่นตามหลักการและคุณค่าของสื่อท้องถิ่น โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาของสื่อท้องถิ่นนำเสนอในช่วงเวลาก่อน ระหว่าง และหลังการเกิดภัยพิบัติ ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของสื่อท้องถิ่นแตกต่างกันตามประเภทภัยพิบัติและแสดงถึงบทบาทของการเป็นสื่อมวลชนได้มากกว่าบทบาทความเป็นสื่อท้องถิ่น&nbsp; Disaster reporting is one of the functions of the local media that reflects the role of local media to the local people, but when the local community faces a disaster, we hardly see the expectations and voices for the local media to do as the national mainstream media, it’s because of the role of local media have not done enough. Based on that consideration, this article is interested in news reporting on five online local media in Chiang Mai and Phayao provinces during disasters, floods, and haze pollution (PM 2.5) life cycle. The two objectives applied to this article are to understand the role of local media and to study news reporting when their community faces disasters. Local media content in 3 periods, before, during, and after a disaster, were analyzed. The study results show that the local media’s role differs according to the type of disaster and is expressed in more mass media’s role than the local media philosophy.</p> 2024-05-13T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9764 แนวทางการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 2024-05-13T07:01:53+00:00 ศรีหทัย เวลล์ส journalLibbuu@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ และเพื่อพัฒนาแนวทางในการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) สภาพการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในปัจจุบันพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้ผลิตและจัดเก็บรวบรวมเอกสารที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ประกอบด้วย 7 คอลเล็กชัน คือ ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) หนังสือพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 งานดนตรีไทย งานช่างไม้ งานพฤกษศาสตร์ งานภูมิสถาปนิก และงานโบราณคดีและงานสถาปัตยกรรม สภาพปัญหาของการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ พบปัญหา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านแนวปฏิบัติของงานเอกสารจดหมายเหตุ ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ และ 2) แนวทางในการจัดการเอกสารจดหมายเหตุของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน คือ การพัฒนานโยบายการจัดการเอกสารที่เป็นรูปธรรมและเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรในรูปแบบ “คู่มือการจัดการเอกสารจดหมายเหตุพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน” เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติที่หน่วยงานกำหนดขึ้นเป็นกลไกในการบริหารและดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานต่อไป&nbsp; This research aims to study the current situation of archives management, and to develop guidelines for archives management of Mrigadayavan Palace. This study employs a qualitative research approach by using the data collection method from in-depth interviews with three groups of informants, a top exclusive, employees, and archives management professionals. The findings are categorized into two parts based on the objectives. For the first objective, the analysis indicates that Mrigadayavan Palace has generated and gathered archival documents related to the missions. The archival collections include the KM system, the royal writings of King Rama VI, Thai music, carpentry, botany, landscape architecture, as well as archeology and architecture. Five problem areas faced by Mrigadayavan Palace in archives management were: policy, practices, utilization, archivist, and budget problems. For the second objective, the guidelines for managing the archives, which will be crucial for Mrigadayavan Palace, are outlined in the “Mrigadayavan Palace’s Handbook of Archives Management.” This handbook will serve as a guideline established by the agency to manage and implement the organization’s mission.</p> 2024-05-13T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9765 ละครโทรทัศน์ศึกษา: การสำรวจสถานภาพของงานวิจัยว่าด้วยละครโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2545-2564) 2024-05-13T07:06:49+00:00 สมสุข หินวิมาน journalLibbuu@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพของงานวิจัยว่าด้วยละครโทรทัศน์ศึกษาของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2564 โดยอาศัยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis) เป็นเครื่องมือหลักของการศึกษา จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ออกแบบวิจัยละครโทรทัศน์ของไทย จำนวน 98 เล่ม พบว่า ประเด็นหัวข้อที่ศึกษาจะครอบคลุม 5 ด้าน คือ การวิเคราะห์ผู้ส่งสาร/ผู้ผลิต&nbsp; การวิเคราะห์เนื้อหา/ตัวบท การวิเคราะห์ช่องทางการสื่อสาร การวิเคราะห์ผู้รับสาร/ผู้ชม และการวิเคราะห์บริบทการสื่อสารของละครโทรทัศน์ ในส่วนสถานภาพแห่งองค์ความรู้ละครโทรทัศน์ศึกษาของไทย พบว่า ภายใต้ข้อตกลงร่วมกันที่ว่าละครโทรทัศน์เป็นสื่อบันเทิงสำหรับสาธารณชน แนวทางการเข้าสู่ปัญหาของละครโทรทัศน์ศึกษากลับแตกต่างกันไปตามการกำหนดนิยาม/สถานะของละครโทรทัศน์ ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ นิยามของละครโทรทัศน์ในฐานะสื่อที่มีผลกระทบต่อผู้ชมและสังคม นิยามของละครโทรทัศน์ในฐานะอุตสาหกรรมสื่อ และนิยามของละครโทรทัศน์ในฐานะพื้นที่ทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ และที่สำคัญชุดนิยามทั้ง 3 กลุ่มนี้ถือได้ว่าเป็นตัวแปรต้นที่กำหนด แนวทางการออกแบบงานวิจัยละครโทรทัศน์ศึกษา ตั้งแต่การตั้งปัญหานำวิจัย การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎี การเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัย และการวิเคราะห์/สังเคราะห์ผลการศึกษา&nbsp; This research project aims to conduct a survey of academic research projects about television drama in Thailand from 2002 to 2021. This documentary analysis of 98 postgraduate theses from Chulalongkorn University and Thammasat University reveals that the research topics include sender/encoder analysis, message/textual analysis, channel analysis, receiver/decoder analysis and contextual analysis of soap opera communication.<br>This review of the body of knowledge about Thai soap opera studies also indicates that all the selected postgraduate theses regard television drama as mass entertainment. Nevertheless, approaches to the studies of this fictional programme vary according to how each research project defines soap serials in 3 different ways: (1) the studies of media impact of television drama; (2) the studies of television drama industry; and (3) the studies of television drama as cultural and ideological sphere. Notably, these different definitions significantly make an impact upon how to design research into soap opera studies, namely identifying a statement of problems, adopting conceptual and theoretical framework, conducting research methodology, analysing and sythesising the body of knowledge.</p> 2024-05-13T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9766 กลยุทธ์ร่วมสมัยในการหาความรู้ทางสังคม 2024-05-13T07:12:21+00:00 เรวัต แสงสุริยงค์ journalLibbuu@gmail.com <p>กลยุทธ์การใช้เหตุผลเพื่ออ้างอิงหลักฐานที่เป็นความจริงในกระบวนการสร้างความรู้ที่มีแบบแผนถูกพัฒนาขึ้นมาสมัยกรีกโบราณโดยอริสโตเติล และกลยุทธ์ของอริสโตเติลได้กลายมาเป็นต้นน้ำของการพัฒนากลยุทธ์ในการใช้เหตุผลในเวลาต่อมา แม้ว่ากลยุทธ์การใช้เหตุผลแบบนิรนัยของอริสโตเติลจะครอบงำวิธีการหาความรู้มาอย่างยาวนานและจนถึงปัจจุบัน แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน ได้ชี้ให้เห็นว่า วิธีการใช้เหตุผลแบบนิรนัยมีจุดอ่อนที่ไม่ได้เป็นจริงในตัวมันเองและไม่ได้เป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ จึงเสนอกลยุทธ์การใช้เหตุผลแบบอุปนัยขึ้นมาใหม่ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาร์ลส์ แซนเดอร์ เพียร์ซ วิจารณ์ว่า กลยุทธ์การใช้เหตุผลแบบเก่ามีจุดอ่อน ที่มองข้ามข้อเท็จจริงบางประการ คือ วิธีนิรนัย คัดข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับข้อเสนอเชิงสมมติฐานออกจากการวิเคราะห์ และวิธีอุปนัย ตัดข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับรูปแบบออกจากการสร้างข้อสรุป และได้เสนอกลยุทธ์การใช้เหตุผลแบบจารนัยขึ้นมาใหม่ที่ต่อมาพัฒนามาเป็นวิธีกลนัย การใช้เหตุผลในการอ้างอิงข้อเท็จจริงของแต่ละกลยุทธ์มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง หากนำเอาจุดแข็งของกลยุทธ์หนึ่งไปเสริมจุดอ่อนของอีกกลยุทธ์หนึ่งอาจทำให้ได้ความรู้ใหม่และทฤษฎีใหม่จำนวนมากภายใต้ปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและอุบัติใหม่อย่างรวดเร็ว&nbsp; Aristotle developed the strategy of using reason to refer to facts in the formal form of knowledge creation in ancient Greece. It became the precursor to the later development of strategies. Although Aristotle’s deductive reasoning strategy has long dominated the methods of knowledge acquisition and continues to the present day. In the 17th century, Francis Bacon pointed out that the deductive reasoning method has the weakness that it is unrealistic and does not seek new knowledge. Therefore, the inductive reasoning method is proposed. At the beginning of the 20th century, Charles Sanders Peirce criticized the traditional method of reasoning for its weaknesses in that it overlooked specific facts. Deductive methods excluded information inconsistent with the premise and removed it from the analysis. The inductive method eliminates data that is inconsistent with the pattern of generalization. He proposed using abductive reasoning, which was later developed into a retroductive method. The fact-based reasoning of each strategy has both its weaknesses and strengths. Suppose the strengths of one approach are used to complement the shortcomings of the other strategy. In that case, it may lead to much new knowledge and theories under rapidly changing and emerging social phenomena.</p> 2024-05-13T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024