วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2 en-US วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 0858-4540 แนวทางส่งเสริมและการกำกับดูแลร่วมกันด้านการปฏิบัติงานและการนำเสนอของสื่อในประเด็นอ่อนไหวเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/8999 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมและกำกับดูแลร่วมกันด้านการปฏิบัติงานและการนำเสนอของสื่อในประเด็นอ่อนไหวเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของประเทศไทย แกนนำผู้มีความหลากหลายทางเพศ นักกฎหมาย นักสื่อสารมวลชน ผู้ผลิตรายการ นักวิชาการด้านจิตวิทยา ตัวแทนผู้ชม จำนวน 15 คน การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย จำนวน 30 คน คัดเลือกโดยวิธีการเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการเชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า การนำเสนอภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับ LGBTIQ+ ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางเพศเป็นพื้นฐานก่อนการนำเสนอ มีการนำเสนอในลักษณะที่เป็น “ปกติ” ตามบริบททางสังคม ปราศจากอคติ เน้นความสามารถและศักยภาพ การเป็น “ตัวแบบที่ดี” เพื่อให้เกิดการรับรู้ของความสำเร็จมากกว่าการตอกย้ำ สร้างภาพจำ ควรใช้ภาษาที่สร้างความเข้าอกเข้าใจ ควรเสนอภาพและเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าการคำนึงถึงการหวังผลในเชิงพาณิชย์ สำหรับแนวทางการกำกับดูแลเนื้อหารายการเกี่ยวกับ LGBTIQ+ ควรใช้หลักการกำกับดูแลรายการเช่นเดียวกับรายการโดยทั่วไป รวมถึงหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค ไม่ละเมิดศักดิ์ศรี ควรใช้แนวคิดของการ “ส่งเสริม” มากกว่าการ “กดทับ” โดยใช้วิธีการกำกับดูแลกันเอง หรือการกำกับดูแลร่วมกัน และควรจัดทำ “คู่มือ” การกำกับดูแลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน&nbsp; The purpose of this study was to explore the support guidelines for regulating media operations and reporting on sensitive LGBTIQ+ issues in Thailand. This research was qualitatively conducted using in-depth and focus-group interviews. Forty-five research participants included television industries experts, LGBTIQ+ key informants, lawyers, journalists, television program producers, psychologists, and LGBTIQ+-content audience representatives. Fifteen participants for in-depth interviews were recruited through a purposive sampling method, and thirty participants for focus-group interviews were recruited using a snowball sampling method. The research tools were semi-structured interview and focus-group interview questions. The data were analyzed inductively. The study revealed two main findings. First, in reporting LGBTIQ+ content, knowledge and understanding of gender should be earlier addressed, and LGBTIQ+ issues should be presented normally and appropriately for social contexts through appropriate, bias-free style so that audiences perceive LGBTIQ+ content positively as role models with capacity, rather than LGBTIQ+ with negative image. Also, content and language used for LGBTIQ+ should create empathy. Media entrepreneurs should consider their roles and ethics, reporting the content creatively rather than taking advantage of LGBTIQ+ content. Second, the regulatory guidelines for LGBTIQ+ content should apply the same rules used in general content, where human rights, equality, respect, support, not suppression, should be recognized. Media with self-regulation and regulatory guidelines should be provided for the same standard of practices.</p> สันทัด ทองรินทร์ ศิริวรรณ อนันต์โท สุภาภรณ์ ศรีดี วิทยาธร ท่อแก้ว สาธิตา วิมลคุณารักษ์ วิวิธ วงศ์ทิพย์ ธีรเดช มโนลีหกุล วิศนันท์ อุปรมัย ทิพย์นภา หวนสุริยา พีรพงศ์ จงไพศาลสกุล Copyright (c) 2024 2024-01-10 2024-01-10 31 3 1 16 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวกของชาวบ้านอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9000 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวกและศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวกของชาวบ้านอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม 3) แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) แบบบันทึกการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวก มี 4 ลักษณะ คือ 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผน 3) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ และ 4) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการดำเนินการ 2. ด้านแนวทางในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแทงหยวกมี 3 แนวทาง คือ 1) การอนุรักษ์โดยชุมชน 2) การสนับสนุนโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน 3) การสนับสนุนและส่งเสริมโดยสถาบันการศึกษา การสืบทอดภูมิปัญญาการแทงหยวก พบว่า มี 4 ลักษณะ คือ 1) การสอนให้กับเครือญาติ 2) การสอนให้กับคนในชุมชน 3) การสอนให้กับบุคคลทั่วไป และ 4) การสอนเสริมในสถานศึกษาและนอกสถานที่&nbsp; The research aimed to study the process of participation in preservation and restoration of local wisdom, “Tangyuak” and the guidelines to preserve and restore it in Khueangnai district, Ubon Ratchathani province. The research instruments were an in-depth interview, a questionnaire, a participant, and a non-participant observation. The subjects were 100 individuals. The research found that 1) communal participation in preserving local wisdom includes examining problems and causes, planning, implementing plans, and benefiting from them. 2) The guidelines for preservation were: community conservation, private and state agency support, and educational institute involvement. Regarding the succession of local knowledge, it was passed down to close relatives, and community members and also taught in educational institutions as well as being available to the general public.</p> สาคร ฉลวยศรี Copyright (c) 2024 2024-01-10 2024-01-10 31 3 17 31 บทบาทของประเพณีฉลองแม่พระไถ่ทาสที่มีต่อชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9001 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของประเพณีฉลองแม่พระไถ่ทาสที่มีต่อชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยเอกสารร่วมกับกระบวนการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีฉลองแม่พระไถ่ทาสมีบทบาทต่อชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทในการแสดงออกถึงความศรัทธาที่มีต่อพระนางมารีย์พรหมจารี 2) บทบาทในการสร้างความมั่นคงและเป็นที่พึ่งทางจิตใจ 3) บทบาทในการแสดงอัตลักษณ์ของชุมชนคอนเซ็ปชัญ ได้แก่ อัตลักษณ์ทางศาสนา และอัตลักษณ์ด้านอาหาร และ 4) บทบาทการสร้างปฏิสัมพันธ์และความสามัคคีของชุมชน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเพณีฉลองแม่พระไถ่ทาสเป็นประเพณีสำคัญที่ยึดโยงองค์ประกอบต่าง ๆ ของชุมชนให้เป็นปึกแผ่น ทำให้ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนไว้ได้อย่างเข้มแข็ง&nbsp; This is qualitative research. The purpose of this research was to analyze the function of Our Lady of Ransom celebration for the Immaculate Conception Church community in Dusit, Bangkok. The data was collected through document research, stakeholder interviews, and participant and non-participant observations. The study found that the Feast of Our Lady of Ransom serves four functions for the Immaculate Conception Church community as following: 1) demonstrating faith in the Virgin Mary 2) creating stability and serving as a psychological refuge 3) displaying the community’s identity, including religious and food cultural identity 4) promoting community interaction and unity. This research highlights the Feast of Our Lady of Ransom as a significant tradition that connects various community components and maintains a strong identity.</p> อติวิชญ์ เซี่ยงคิ้ว Copyright (c) 2024 2024-01-10 2024-01-10 31 3 32 47 การพัฒนารายวิชาพื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวันในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9002 <p>งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการ ความจำเป็นและจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกในด้านทักษะการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิด ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการทักษะการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 2) เพื่อการพัฒนารายวิชาพื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวันในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผลการศึกษา พบว่า สามารถพัฒนารายวิชาได้จำนวน 1 รายวิชา คือ รายวิชาพื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวัน โดยแบ่งผลการศึกษาได้เป็น 2 ส่วน คือ (1) การออกแบบรายวิชา ผู้วิจัยได้นำผลจากแบบสอบถามมาประกอบกับหลักการจัดการเรียนการสอนเพื่อกำหนดเป็นเนื้อหาวิชา (2) การผลิตและการเผยแพร่ ผลการศึกษา พบว่า สามารถผลิตสื่อวีดิทัศน์การเรียนการสอนสำหรับเนื้อหา 4 บทเรียน จำนวน 12 คลิป ความยาวรวม 120 นาที พร้อมผลิตเอกสารประกอบการเรียน แบบฝึกหัดและแบบทดสอบ โดยเผยแพร่รายวิชาในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิดของมหาวิทยาลัยบูรพา (BUU MOOC) ซึ่งเปิดทดสอบให้ผู้เรียน จำนวน 300 คน ผลประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29&nbsp; This is a research study on Research and Development (R&amp;D). The main objectives of this research are: 1) to identify the needs and priority for potential manpower development in script writing and expressive writing. The findings show that the overall need in this area is quite high, with a score of 4.30 (average&nbsp;= 4.30). 2) In the context of enhancing fundamental Script Writing and Expressive Writing for Daily Life, especially for manpower in the Eastern Economic Corridor region, this study suggests the possibility of developing a foundational course focusing on script writing and expressive writing for daily life through Massive Open Online Courses (MOOCs). The study’s findings can be categorized into two main aspects. (1) Course Design: researchers used survey results along with instructional design principles to create course content. (2) Production and Dissemination: the study produced instructional videos for four lessons, comprising of 12 videos, totaling to 120 minutes. Supplementary learning materials, practice exercises, and quizzes were also developed during the study. The course was disseminated through the Burapha University Massive Open Online Course (BUU MOOC) and was pilot-tested with 300 learners. The assessment of learner satisfaction revealed that learners were highly satisfied and gave an average rating of 4.29.</p> อภิรักษ์ ชัยปัญหา Copyright (c) 2024 2024-01-10 2024-01-10 31 3 48 61 การพัฒนาและใช้โปรแกรมประยุกต์บนมือถือและอุปกรณ์พกพาในการประเมินสภาวะอาหารในท้องถิ่น: กรณีศึกษาบ้านสำราญ ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9003 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดมความร่วมมือในการศึกษาสถานการณ์อาหาร และ 2) ออกแบบโปรแกรมประยุกต์บนมือถือและอุปกรณ์พกพา การรวบรวมข้อมูลและประเมินสภาวะความมั่นคงทางอาหารของบ้านสำราญ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบและพัฒนาโปรแกรม และดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า สามารถออกแบบและพัฒนาให้เกิดโปรแกรมประเมินสภาวะอาหารในท้องถิ่นชื่อว่า “SAMRANDEE” มีการก่อตั้งศูนย์ข้อมูลชื่อว่า “ตุ้มโฮมสำราญดี” เพื่อบริหารจัดการและใช้พัฒนากระบวนการผลิตในพื้นที่และพัฒนาให้เป็นประโยชน์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายในพื้นที่ ให้เกิดการสั่งซื้อและจัดส่งอาหารรวมทั้งเป็นการสร้างงานให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนในอนาคต ข้อค้นพบที่สำคัญคือ นักวิจัยชุมชนเกิดการเรียนรู้ข้อมูลอาหารในพื้นที่ ทักษะการวิจัย ออกแบบโปรแกรมจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง เกิดการอนุรักษ์อาหารประจำถิ่นที่หายาก มีความตระหนักเรื่องหนี้สินครัวเรือนในโปรแกรมเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ข้อเสนอแนะคือ ควรสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายการผลิตและการตลาดให้มากขึ้น ควรออกแบบระบบการจัดเก็บผลผลิต การซื้อขาย การสั่งซื้อ การจัดส่ง โดยเชื่อมโยงกับโปรแกรม และหน่วยงานในท้องถิ่นสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานเกษตรอำเภอ ฯลฯ&nbsp; This research has two objectives. Firstly, to encourage community participation in studying the food situation, and secondly, to design mobile applications for data collection and evaluation of the food security status in Baan Samran. A qualitative case study research and participatory action research were employed to design and develop an application to survey and evaluate the food situation in the area. The data was collected from 35 households as samples. The results of the research can be utilized to create a local food assessment program called “SAMRANDEE”. An information center called “Tum Home Samran Dee” can be established to manage production processes in the area. This will benefit buyers and sellers by enabling food orders and deliveries and creating employment opportunities for the community in the future. Community researchers gained important knowledge about food information in the area, research skills, program design based on community needs, and preserving rare local food. Managing household debt is crucial for village development. Adding debt information to the program can improve food security and quality of life. More cooperation with production and marketing networks is recommended. A system for storing produced food, trading, ordering, and delivering should be designed. Local agencies such as local government organizations, and district agricultural offices can use this information to benefit the community.</p> อาทิตย์ บุดดาดวง ฐิติรัตน์ เวทย์ศิริยานันท์ เขมวิทย์ จิตตะยโศธร อุมาพร ไวยารัตน์ สว่าง สุขแสง บัวพันธ์ พรหมพักพิง อนุวัฒน์ พลทิพย์ Copyright (c) 2024 2024-01-10 2024-01-10 31 3 62 75 ความเป็นสุภาพบุรุษและแนวคิดเบื้องหลังตัวละครชายในนวนิยาย เรื่อง กุหลาบเมาะลำเลิง ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9004 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นสุภาพบุรุษและแนวคิดเบื้องหลังของตัวละครชายในนวนิยายเรื่อง<em>&nbsp;</em>กุหลาบเมาะลำเลิง แต่งโดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ใช้การวิเคราะห์ตัวบทนวนิยาย ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครชายมีความเป็นสุภาพบุรุษในแบบชายผู้ดี กล่าวคือ เกิดในชาติตระกูลสูงและได้รับการศึกษาดีสะท้อนความเป็นอภิสิทธิชน มีความซื่อสัตย์และรักษามิตรภาพระหว่างสหาย หากดำเนินไปอย่างเห็นแก่ตัว ไม่คำนึงถึงคุณค่าและความรู้สึกของผู้หญิง ด้านความสุขุมเคร่งขรึม ตัวละครชายไร้คุณสมบัติข้อนี้ เพราะมีพฤติกรรมเหมือนเด็กเล่นซน ไร้ความรับผิดชอบ ขณะที่คุณสมบัติการให้เกียรติสุภาพสตรีนั้น ตัวละครชายไม่มีคุณสมบัติข้อนี้เพราะได้ล่วงละเมิดตัวละครหญิงอันนำไปสู่ความวุ่นวายของเรื่อง ในมิติของความเป็นสุภาพบุรุษแบบสามัญชน ผลการศึกษาไม่พบคุณสมบัติข้อนี้ ในมิติของความเป็นสุภาพบุรุษแบบมีจริยธรรมนำทาง ตัวละครชายต่างไร้เหตุผลเชิงจริยธรรมและควบคุมตนเองไม่ได้ เมื่อพิจารณาถึงแนวคิดที่แฝงอยู่เบื้องหลังตัวละครชาย พบแนวคิดชายเป็นใหญ่ แนวคิดสตรีนิยมและการเมืองเรื่องเพศ ตลอดจนแนวคิดชนชั้นทางสังคม&nbsp; This article aimed to study and analyze the gentlemanliness and male characters’ background concepts in “Mawlamyine Rose” by Major General Luang Wichitwatakarn through the novel’s plot. The findings showed that male characters were gentlemen in the form of aristocrats; they were born into a high family and well-educated, reflecting their privilege. They were honest and maintained friendships. Nevertheless, they proceeded selfishly without considering women’s values and feelings. Regarding sobriety solemn, the male characters lacked this feature because they behaved like mischievous children without being irresponsible. Based on the property of honoring ladies, the male characters did not have this feature either because they harassed the female characters, which was the main cause leading to the story’s chaos, in the dimension of being a commoner gentleman. The findings showed that this qualification was not found. To the extent of being an ethical gentleman, the male characters were morally irrational and unable to control themselves. When considering the background concepts of male characters, it showed the male-dominated, feminism, and sexual politics as well as social class concepts.</p> เอกชัย แสงโสดา Copyright (c) 2024 2024-01-10 2024-01-10 31 3 76 89 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการตลาดสำหรับงานด้านการสื่อสารแบรนด์ในยุคดิจิทัล https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9005 <p>วิวัฒนาการของการตลาดได้มีการเปลี่ยนแปลงจากการเน้นเกี่ยวกับคุณภาพและการออกแบบสินค้าเป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมกันระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ การพัฒนาของเทคโนโลยีนับเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงมุมมองและรูปแบบการทำงานด้านการตลาดและการสื่อสารแบรนด์ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตลาดในยุค 5.0 และ 6.0 ที่ถูกนำมาใช้งานด้านการสื่อสารแบรนด์ ผู้เขียนได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและนำเสนอองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการตลาดและการสื่อสารแบรนด์ก่อนจะนำไปสู่กรณีศึกษาที่แบรนด์ต่าง ๆ นำเทคโนโลยีการตลาดไปประยุกต์ใช้งาน&nbsp; The marketing concept has evolved from emphasizing product quality and design to creating brand experiences with consumers. Technology development has significantly changed the perspective and working process of marketing and brand communication tasks. This academic article aims to present a body of knowledge about marketing technology in the 5.0 and 6.0 eras applied in brand communication tasks. The authors review relevant literature and provide an understanding of marketing technology, brand communication tasks, and applications.</p> ณพัฒน์ เอี่ยมยิ่ง ชมพูนุช ปัญญไพโรจน์ Copyright (c) 2024 2024-01-10 2024-01-10 31 3 90 104 คตินิยมสมัยใหม่กับการแสวงหาความจริงในละครแนวสืบสวนสอบสวนไทย เรื่อง I Hate You, I Love You และ เลือดข้นคนจาง https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/9006 <p>ละครแนวสืบสวนสอบสวนนำเสนอแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับการแสวงหาความจริงผ่านการคลี่คลายปริศนาคดีฆาตกรรมในเรื่อง ทั้งในระดับเนื้อเรื่องที่เป็นการแสวงหาความจริงของตัวละคร และในระดับผู้ชมที่เป็นการแสวงหาความจริงของละครเรื่องที่ชม อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่าละครบางเรื่องนำเสนอปัญหาเกี่ยวกับการแสวงหาความจริงผ่านเนื้อเรื่องแนวสืบสวนสอบสวนที่นำเสนอในละคร บทความนี้มุ่งวิเคราะห์การแสวงหาความจริงและปัญหาเกี่ยวกับความจริงในละครแนวสืบสวนสอบสวนไทย เรื่อง I Hate You, I Love You และ เลือดข้นคนจาง เนื่องจากเป็นละครที่นำเสนอปัญหาเกี่ยวกับการแสวงหาความจริงและแตกต่างไปจากละครไทยเรื่องอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาแนวเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า ละครทั้งสองเรื่องนำเสนอว่าความจริงที่อยู่เบื้องหลังคดีฆาตกรรมในเรื่องขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้อง การแสวงหาความจริงที่นำเสนอผ่านละครทั้งสองเรื่องสอดคล้องกับลักษณะการแสวงหาความจริงตามคตินิยมสมัยใหม่ ทั้งยังนำไปสู่ประเด็นปัญหาที่สัมพันธ์กับการแสวงหาความจริง นั่นคือ ข้อจำกัดของมุมมองกับการรับรู้ข้อมูล ศักยภาพของบุคคลในการจัดกระทำต่อความจริง และสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับการปกปิดความจริง โดยนัยนี้ ละครทั้งสองเรื่องได้แสดงนัยแห่งความไม่ไว้ใจต่อความจริงและกระบวนการแสวงหาความจริงในสังคมไทย&nbsp; Most detective dramas depict discovering the truth through investigating murder cases in their narratives, both on a character and an audience level. However, it is noted that a few of those shows illustrate the problem of seeking truth in the stories. This essay examined the issues surrounding the pursuit of the truth in the Thai detective dramas I Hate You, I Love You and In Family, We Trust. As a result, these two dramas demonstrated how different people’s points of view might affect how actual a murder case is. The two series depicted the concept of truth-seeking and its relation to Modernism. They also explored related issues, such as the limited point of view of a person when receiving information, the ability of a person to arrange the truth, and the impact of interpersonal relationships on concealing the truth. In other words, these two series exposed the problematic nature of truth and the pursuit of truth in Thai society.</p> ธงชัย แซ่เจี่ย Copyright (c) 2024 2024-01-10 2024-01-10 31 3 105 118