การประเมินความเหมาะสมเชิงพื้นที่ในการเพาะปลูกยางพาราของจังหวัดระยองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

Authors

  • ณรงค์ พลีรักษ์

Keywords:

ยางพารา - - การปลูก - - ไทย - - ระยอง, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, การคำนวณเนื้อที่, ความเหมาะสมเชิงพื้นที่

Abstract

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีการปลูกในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยจังหวัดระยอง มีพื้นที่ปลูกยางพารางมาที่สุดในภาคตะวันออก จากการจำแนกพื้นที่ปลูกยางพาราในจังหวัดระยองจากภาพถ่ายดาวเทียว HJ-1A (SMMS) ในปี พ.ศ. 2556 ด้วยวิธีการจำแนกภาพเชิงวัตถุและค่าดัชนีพืชพรรณ พบว่ามีพื้นที่ทั้งสิ้น 722,265 ไร่ มีการปลูกในอำเภอแกลงมากที่สุดเท่ากับ 176,920 ไร่ หรือร้อยละ 24.50 รองลงมา ได้แก่ อำเภอบ้านค่าย เท่ากับ 129,511 ไร่ หรือร้อยละ 17.93 ส่วนอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกยางพาราน้อยที่สุด ได้แก่ อำเภอบ้านฉาง เท่ากับ 261 ไร่ หรือร้อยละ  0.04 จากนั้นวิเคราะห์ความเหมาะสมเชิงพื้นที่ของการปลูกยางพาราในจังหวัดระยอง โดยการซ้อนทับพื้นที่ปลูกยางพารากับเขตเหมาะสมปลูกยางพาราที่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า มีการปลูกยางพาราในเขตเหมาะสมมากเท่ากับ 116,682 ไร่ หรือร้อยละ 16.16 ในขณะที่มีการปลูกยางพาราในเขตเหมาะสมปานกลางเท่ากับ 285,757 ไร่ หรือร้อยละ 39.56 ในเขตเหมาะสมน้อยเท่ากับ 162,375 ไร่ หรือร้อยละ 22.48 และในเขตไม่เหมาะสมเท่ากับ 55,865 ไร่ หรือร้อยละ 7.71The rubber is the major economic crops of Thailand in which it is grown in all regions. The largest rubber area in the eastern part of the country has been found in Rayong province. In this study, the rubber planted areas of Rayong were interpreted from the HJ-1A (SMMS) images in 2013 using Object Based Image Analysis (OBIA) and Normalization Difference Vegetation Index (NDVI) and it had a total rubber area of 722,265 rai. The main rubber areas of Rayong were found in Klaeng district with 176,920 rai or 27.50% followed by Bankai district with 129,511 rai or 17.93% while the smallest rubber areas were shown in Ban Chang district with 261 rai or 0.04%. Then, the spatial suitability of rubber area was analyzed using overlay technique between the rubber area and the suitable rubber area from Ministry of Agriculture and Cooperatives. The results showed that the rubbers were found 116,682 rai (16.16%) in the high suitable area (S1). Additionally, the rubbers were identified 285,757 rai (39.56%), 162,375 rai (22.48%) and 55,868 rai (7.71%) in the medium suitable area (S2), the low suitable area (S3) and the non-suitable area (N), respectively.

Downloads