ผลกระทบและแบบจำลองของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Authors

  • ยุทธศาสตร์ อนุรักติพันธุ์

Keywords:

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, พืชกับภูมิอากาศ

Abstract

การศึกษาผลกระทบและแบบจำลองของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร  โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยบางตราน้อยและห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยศึกษาจากแปลงทดลองขนาด 4x22 เมตร จำนวน 6 แปลง ในพื้นที่ความลาดชัน 3 ระดับ ได้แก่ ความลาดชัน 9-10 20-25 และ 30-35 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตาม ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อใช้วางมาตรการและจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนวงาแผนรับมือผลกระทบที่มีต่อภาคเกษตร จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำย่อยบางตราน้อย มีปริมาณน้ำฝนสะสมเฉลี่ย 288.5 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ทั้งสิ้น 17.24 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยห้วยทรายปริมาณน้ำฝนสะสมเฉลี่ย 202.1 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ทั้งสิ้น 4.46 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการประเมินการสูญเสียดินด้วยโปรแกรม ThaiEROSION MMF พื้นที่ลุ่มน้ำย่อยบางตราน้อยมีอัตราการสูญเสียดิน 284 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 3,428 ตันต่อลุ่มน้ำต่อปี ขณะที่ในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยห้วยทรายมีการสูญเสียดิน 84 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 395 ตันต่อลุ่มน้ำต่อปี ผลการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรทั้งสองลุ่มน้ำ แบ่งพื้นที่เป็น 3 บริเวณ ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำพื้นที่กลางน้ำ  และพื้นที่ปลายน้ำ พบว่าพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำย่อยบางตราน้อยอยู่บริเวณปลายน้ำ มีพื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่ จากพื้นที่ปลายน้ำทั้งหมด 12,482 ไร่ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทำให้ผลผลิตลดน้อยลงร้อยละ 43 ส่วนห้วยทรายพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่บริเวณกลางน้ำมีพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ จากพื้นที่กลางน้ำทั้งหมด 4,152 ไร่ ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และผลผลิตลดลงร้อยละ 48 ส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยข้าวนาปีในลุ่มน้ำย่อยบางคราน้อยและลุ่มน้ำย่อยห้วยทรายได้เพียง 550 และ 456 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ในขณะที่ผลผลิตข้าวนาปีของจังหวัดเพชรบุรี เฉลี่ย 688 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือได้ผลผลิตเฉลี่ยข้าวนาปีต่ำกว่าของจังหวัดเพชรบุรี ร้อยละ 20 และ 33 ตามลำดับ การทำนายผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงแบ่งเป้นการทำนายสองช่วง คือ ในปี พ.ศ. 2567 และ พ.ศ. 2581 โดยแบบจำลอง CLUE-S น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่กระทบต่อป่าไม้มากนัก (Slow growth) สำหรับ 23 ปีข้างหน้า ในปี พ.ศ. 2581 การใช้แบบจำลอง AHP ทำนายผลกระทบที่เปราะบางและอ่อนไหวมาก คือ พื้นที่ปลายน้ำบางตราน้อย และพื้นที่กลางน้ำห้วยทราย ตรงตามแบบสอบถามที่ได้สำรวจอย่างไรก็ตามผลกระทบที่อาจพบว่า มีความรุนแรงเป็นแนวกว้าง ได้แก่ ป่าต้นน้ำของทั้งสองกลุ่มน้ำย่อย นอกจากนี้การใช้แบบจำลอง AquaCrop 5.0 สามารถทำนายผลผลิตข้าวไม่รวมถึง ภัยแล้ง น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม และการระบาดของโรคแมลงคำนึงแค่ 7 ปัจจัยสภาพอากาศ พบว่าในอีก 23 ปีข้างหน้า ผลผลิตข้าวจะดีขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 9 จากปี พ.ศ. 2558 หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 04 ต่อปี จากผลการศึกษาดังกล่าวทำให้เกษตรกรในพื้นที่ สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยการทำสระน้ำในไร่นา และปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเป็นพืชเศรษฐกิจทนแล้ง ปศุสัตว์กับหญ้าทนแล้ง ซึ่งจำทำให้เกษตรกรปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นเป็นอันดับ  The study was carried out at Bang Tra Noi and Huai Sai sub-basin, Cha Am district, Phetchaburi province. The study started in January-December 2015. Standard Erosion plot site as 4x22 meter are installed in three slope class such as 9-10%, 20-25% and 30-35% respectively with are six plots. The objective is study paired watershed and soil. Water conservation measure. Monitor and collect extreme climate change data on soil, yield, environment, income and investment of farmers. The results shows that there is average annual rainfall 288.5 mm per year on Bang Tra Noi sub-basin. A large amount of rainwater falls into the basin is 17.24 million m3. On the other hand, Huai Sai sub basin’s annual rainfall is 202.1 mm per year and rainwater fall 4.46 millon m3. The soil erosion in Bang Tra Noi is calculated using ThaiERSION MMF model 284 kg rai per year as 3,428 ton per sub-basin per year. The other sub-basin is 84 kg per rai per year as 395 ton per sub-basin per year respectively. The questionnaire for collecting agriculture information impects on extreme climate. There are three categorize such as upstream, middle and lower classes that are a focus on disaster areas in agricultural part and impacts on yield. The results show that 6,000 rai from 12,482 rai were drought impacted and rice yield 43% decline in lower Bang Tra Noi sub-basin. The other, 2,000 rai from 4,152 rai drought impacted and yield 48% decline in the sub-basin. Rice yield declines 550 and 456 kg rai Bang Tra Noi and Huai Sai sub-basin respectively. The average rice yield of Phetchaburi province is 688 kg per rai that Bang Tra Noi is 20% and Huai Sai is 33% less than the average. Change climate extremes and their inpact projection. There are 2 periods of time 2024 and 2038. CLUE-S is a GIS-based modeling system which assesses the effects of land use change on water quality and socio-economic indicators. The CLUE-S concludes that slow growth scenario has a big chance to possible in a near future 2026 because the government policy trends to conserve forest areas. For the long term projection 2038, AHP and Aqua Crops model shows the higher impact on the climate change at lower Bang Tra Noi sub-basin, the middle of Huai Sai sub-basin and on the head of the stream forest respectively. However, Aqua Crops projects 9% rice yield increasing or 0.4% per year increasing in 2038. To summarize this research, Farmers can adapt to ask farm pond and adjust drought torrent trees, livestock, and grassland.

Downloads