วิ่ง... วิถีแห่งสติ
Keywords:
การออกกำลังกาย, การวิ่งAbstract
ชีวิตมนุษย์มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ ทำงานประสานกันและดำรงอยู่ได้ด้วยสมดุล มีการปรับสมดุลในร่างกายโดยระบบอวัยวะต่าง ๆ และมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์ของชีวิต ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงที่ร่างกายหรือจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะส่งผลกระทบถึงกัน การทำงานของจิตใจมีผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย เช่นภาวะเครียดจะทำให้ปวดศีรษะกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ เกร็ง หายใจหอบลึก เป็นแผลในกระเพราะอาหาร หัวใจเต้นเร็วแรง ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ในทางกลับกันเมื่อร่างกายไม่สบายก็จะมีผลให้จิตใจไม่สบายด้วย เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ จิตใจก็มีความวิตกกังวล กลัว ซึมเศร้า (ราตรี สุดทรวง, 2538 : 141-142) การดำรงรักษาให้ร่างกายและจิตใจทำงานกันอย่างสมดุลโดยอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันจิตใจก็ผ่องใส มีความสุขสงบ สามารถปรับตัวและต่อสู้กับความเครียดได้ก็จะส่งผลให้บุคคลนั้นมีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป ซึ่งในสังคมปัจจุบันการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จะต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย การมีร่างกายและจิตใจที่แข็งแกร่งจึงเป็นสิ่งจำเป็น ร่างกายอาจเปรียบเหมือนบ้านที่พักอาศัยอยู่ของจิตใจเมื่อร่างกายที่สุขภาพดีไม่ทรุดโทรมจิตใจย่อมมีโอกาสที่จะมีสุขภาพดีด้วย (ระวี ภาวิไล, 2538 : 178) ดังนั้น การที่จะทำให้บุคคลมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ คือ การออกกำลังกาย พร้อมกับออกกำลังใจ นั่นคือการมีสติเฝ้าตามดูตัวเองในการเคลื่อนไหวร่างกาย (ระวี ภาวิไล, 2538 : 177)เป็นการพัฒนาศักยภาพฝึกฝนทั้งร่างกายและจิตใจซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ชีวิตในวันนี้จะต้องดีกว่าวันวานและจะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุดดังสุภาษิตของ Leo Roten ที่ว่า “If you don’t grow’ you will graw smaller” หากท่านไม่เจริญเติบโต ท่านก็จะเล็กลง (กรุณา กุศลาสัย, 2536 : 85)ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะพัฒนาศักยภาพที่แฝงเร้นอยู่ด้วยการฝึกฝนอบรมทั้งกายและใจ คือ การวิ่ง พร้อมกับการควบคุมสติให้ตามทันความรู้สึกนึกคิดDownloads
Issue
Section
Articles