การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในจังหวัดชลบุรีและจันทบุรี

Authors

  • จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ

Keywords:

ยากำจัดศัตรูพืช, สารเคมีทางการเกษตร, เกษตรกร, สุขภาพและอนามัย

Abstract

            ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในประเทศเกษตรกรรม เนื่องจากเกษตรกรได้นำเอกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิต มีการประเมินว่าถ้าไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ผลิตผลทางการเกษตรจะเสียหายถึงร้อยละ 10-30 (1) ประเทศไทยมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชกันมาก จากตัวเลข การนำเข้าสารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่ม Organophosphate และ Carbamate พบว่าสารเคมีกำจัดแมลง 2 กลุ่มนี้ มีการใช้รวมกันถึง 70-80% ของสารกำจัดแมลงทั้งหมด โดยกลุ่ม Organophosphate ใช้มากที่สุด และมีแนวโน้มของตัวเลขการนำเข้าเพิ่มขึ้นโดยกลุ่ม Organophosphate มีการนำเข้าสูงสุดประมาณ 4 พันกว่าตัน และกลุ่ม Carbamate มีปริมาณการนำเข้าประมาณ 1 พันกว่าตัน (ในปี 2538) (2)สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนอกจากจะให้ประโยชน์ในการกำจัดศัตรูพืชแล้วยังก่อให้เกิดปัญหากับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประเมินจำนวนผู้ได้รับพิษอย่างเฉียบพลันโดยไม่ได้ตั้งใจประมาณ 1 ล้านคน ต่อปี มีจำนวนผู้เสียชีวิต 20,000 คน และจากจำนวนผู้ได้รับพิษจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ทั่วโลก มีรายงานว่าทวีปเอเชียมีผู้ได้รับพิษเฉียบพลันสูงสุดถึงร้อยละ 44.3 (3) กองระบาดวิทยากระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถิติผู้ป่วยและเสียชีวิตอันเนื่องจากพิษของสารเคมีกำจัดพืช พ.ศ. 2538 พบว่าจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 3,398 คน และจำนวนผู้ป่วยตาย 21 คน โดยคิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 5.71 ต่อประชาการ 100,000 คน และอัตราป่วยตายเท่ากับ 0.62 ต่อประชากร 100,000 คน เมื่อพิจารณาถึงสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตแล้ว พบว่าเกิดจากสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่ม Organophosphate สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.37 และกลุ่ม Carbamate ร้อยละ 55.37 และกลุ่ม Carbamate ร้อยละ 13.34 ของจำนวนผู้ป่วยที่ทราบชนิดของสารเคมีฯ (4)สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่ม Organophosphate และ Carbamate มีความเป็นพิษกับผู้สัมผัส ทำให้เกิดอาการพิษทางระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nevous System)และระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ Cholinesterase enzyme ทำให้เกิดการสะสมของ Acetylcholine ที่ซิมแนปส์ (Synapes) ของเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการกระตุ้นปลายประสาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในกรณีที่รุนแรงจะทำให้สิ่งมีชีวิตถึงแก่เสียชีวิตได้ อาการพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่ม Organophosphate และกลุ่ม Carbamate ได้แก่ (5)            -Muscarinic Signs and Symptoms: อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน น้ำตาไหล เหงื่อออก ม่านตาหดตัว ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะโดยกลั้นไม่อยู่ การเกร็งของหลอดลม มีเสมหะมาก            -Nicotinic Signs and Symptoms: การกระตุกของกล้ามเนื้อที่หน้า หนังตา ลิ้น ถ้าอาการรุนแรงจะพบว่า มีการกระตุกทั่วร่างกาย อ่อนเพลียตามกล้ามเนื้อทั่วไป และเกิดเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อในที่สุด            -อาการทางสมอง เนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง : มึนศีรษะ ปวดศีรษะ มีนงง กระสับกระส่าย ตกใจง่าย อารมณ์พลุ่งพล่าน ถ้าอาการมากอาจชักและหมดสติได้            การศึกษาระดับ Cholinesterase enzyme ในเลือดของคนที่สัมผัสสารฆ่าแมลง Organophosphate กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (6)ได้ทำการประเมินภาวะอันตรายในโรงงานผลิต หรือบรรจุสารพิษกำจัดแมลง พบว่า คนงานร้อยละ 7.8 มีระดับ Cholinesterase ในเลือดต่ำกว่ามาตรฐาน มานิต ธีระตันติกานนท์ (7)พบว่าเกษตรกรมีระดับ Cholinesterase ในเลือด มีความเสี่ยงร้อยละ 13.3 และเยาวภา สวนศิริ (8)พบว่าเกษตรกรมีระดับ Cholinesterase ในเลือดมีความเสี่ยงร้อยละ 29.8 ส่วน Matsushita (9)พบว่า สาร Organophosphate มีอัตราการเกิดของโรคผิวหนัง 36.5% และ Karczmar (9)รายงานว่าผู้ที่ทำงานสัมผัสสาร Organophosphate เป็นเวลานาน 6-12 เดือนอาจทำให้กลไกการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ พบว่าผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า ความทรงจำเริ่มผิดปกติและสูญเสีย สมาธิ และ Plestina และ Piukovic (9)พบว่าผู้ป่วยที่สัมผัส Organophosphate แล้วมีอาการผิดปกติของระบบตาและการมองเห็น สายตาสั้นเพิ่มขึ้น ประสาทตาบวมและฝ่อ เริ่มสูญเสียการทรงตัวและใช้เวลาปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างมืดนานกว่าปกติ

Downloads