แนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์

Government Participation in Promoting Cultural Wisdom for Sustainable Community Development: A Case Study of Rattanakosin District

Authors

  • วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย
  • ธีระวัฒน์ จันทึก
  • วชิราภรณ์ จีระว่องวิทย์
  • ธีระ กุลสวัสดิ์
  • ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน
  • ธัญพิชชา สามารถ
  • สมคิด เพชรประเสริฐ

Keywords:

การจัดการคุณภาพ, คุณค่าในแบรนด์, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, Quality Management, Brand Identity, Community Brand

Abstract

การวิจัยครั้งมุ่งศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และวิเคราะห์ศักยภาพและทรัพยากรของชุมชน รวมถึงพัฒนาแนวทางแนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชุมชมยั่งยืน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มจากการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรทางวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์และศึกษาศักยภาพชุมชน เรียนรู้และพัฒนาร่วมกับชุมชน เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) มีการกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงในพื้นที่ศึกษาโดยเลือกตามศักยภาพชุมชนที่มีการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน และพัฒนาชุมชนร่วมกับ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน 1 คน ภาครัฐ 2 คน นักพัฒนาชุมชน 1 คน ปราชญ์ชุมชน 1 คน และสมาชิกชุมชน 4 คน ต่อ 1 พื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ชุมชนบ้านบาตร และพื้นที่ชุมชนวัดโสมนัส ที่เป็นชุมชนที่มีศักยภาพในแนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า แนวทางแนวทางการมีส่วนร่วมของภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาชุมชมยั่งยืน ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านองค์ความรู้กับชุมชน การสร้างตราสินค้า (Brand) จากอัตลักษณ์ชุมชน การบูรณาการวัฒนธรรมกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การสนับสนุนทางการเงิน สนับสนุนทางด้านเครือข่ายเพื่อยกระดับศักยภาพชุมชน  This research aims to explore the local wisdom and cultural resources in the Rattanakosin area, analyze the community's potential, and develop guidelines for government participation in promoting cultural wisdom for sustainable community development. Conducted as qualitative research, it involves surveying local wisdom and cultural resources, assessing community potential, and utilizing participatory action research (PAR) for collaborative learning and development. Key informants, selected based on community potential, include one community leader, two government officials, one community developer, one local scholar, and four community members from each of the two study areas: Ban Bat Community and Wat Somanas Community, both recognized for their potential for sustainable development. The study concludes that government efforts to promote cultural wisdom for sustainable community development should encompass knowledge support for the community, branding based on community identity, integrating cultural elements with economic development strategies, supporting community finance, and enhancing social networks to bolster community potential.

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). ร่างกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้านวัฒนธรรมตามกรอบทิศทางยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: อรรถพลการพิมพ์.

คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). การส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนา, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง และคณะ. (2561). ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(2), 52-83.

วรรณดี สุทธิวรากร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสรรค์สร้าง. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

วิลาวัณย์ มีอินถา. (2553). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. จุลนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุธิดา แจ้งประจักษ์. (2560). กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษากลุ่มซอสพริกป้าพุ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(47), 95-121.

สำนักงาน กปร. (2546). กษัตริย์นักพัฒนา. กรุงเทพฯ: ดอกเบี้ย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา. วันที่ค้นข้อมูล กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/52/lawguide/law1/6. pdf

Denzin, N. K. (1970). Sociological Methods: A Sourcebook. Chicago: Aldine Publishing Company.

Jonathan, et al. (2019). Let the Logo Do the Talking: The Influence of Logo Descriptiveness on Brand Equity. Journal of Marketing Research, 56(5), 862-878.

Kaili, Y. et al. (2018). An investigation of B-to-B brand value: evidence from manufacturing SMEs in Taiwan. Journal of Business-to-Business Marketing, 25(2), 119-136.

Khuram, et al. (2018). Exploration of Global Brand Value Announcements and Market Reaction. Administrative sciences, 8(49), 1-11.

Manuel, P. T., & Seung-Ho. (2018). Citizen-Based Brand Equity: A Model and Experimental Evaluation. Journal of Public Administration Research and Theory, 28(3), 321-338.

Pinar, B. (2016). Effect of Brand Value Announcements on Stock Returns: Empirical Evidence from Turkey. Journal of Business Economics and Management, 17(6), 1252-1269.

Ray, R. (2016). Corporate Brand Value Shifting from Identity to Innovation Capability: from Coca-Cola to Apple. Journal of Technology Management & Innovation, 11(3), 11-20.

Sachs, J., Lafortune, G., Kroll, C., Fuller, G. & Woelm, F. (2022). Sustainable Development Report 2022 From Crisis to Sustainable Development: the SDGs as Roadmap to 2030 and Beyond Includes the SDG Index and Dashboards. Cambridge University Press. United Kingdom. 493 pages.

Downloads

Published

2024-07-03