การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: จากความคาดหวังสู่อนาคต

Education Management for Sustainable Development: From Expectations to the Future

Authors

  • โสภณ ลือดัง
  • ชยาภรณ์ จตุรพรประสิทธิ์

Keywords:

การพัฒนาที่ยั่งยืน, การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, การปฏิรูปการศึกษา, จากความคาดหวังสู่อนาคต, Sustainable Development, Education Sustainable Development, Educational Reform, From Expectations to the Future

Abstract

บทความชิ้นนี้เป็นบทความวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจากต่างประเทศและ  การประยุกต์ใช้สู่การจัดการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา การพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบและแนวทางสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: บทเรียนจากประเทศอังกฤษสู่ประเทศไทย และ บทสรุป เพื่อปูทางการปฏิรูปการศึกษาไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นในการก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลก ประเด็นที่สำคัญที่สุดในยุคปัจจุบันคือการรักษาทรัพยากรของโลกไว้อย่างไร ขณะเดียวกันก็พัฒนาความมั่งคั่งและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ถูกกำหนดไว้ในแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ประชาคมโลกได้ตกลงที่จะจัดการกับการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการตอบสนองสนธิสัญญาดังกล่าวการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้มีการเปิดตัวเพื่อเป็นคำตอบในการรับมือกับความยั่งยืน ซึ่งโครงสร้างผลลัพธ์ของของการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถถ่ายทอดผ่านผลลัพธ์ของนักเรียนได้อย่างแท้จริงในแง่ของจิตสำนึกด้านความยั่งยืน  This article aims to explore the concepts and theories of education sustainable development, as well as to investigate international strategies in educational sustainable. Specifically, it discusses the beginnings of educational development and reform in the United States, sustainable development, and education sustainable development. It examines patterns and pathways to success in educational management for sustainable development: lessons from the United Kingdom to Thailand. The conclusion seeks to pave the way for reforming Thai education towards a more sustainable future on the global stage. The most significant issue in the current era is how to preserve global resources while simultaneously developing wealth and improving living standards for an increasing population. This grand mission is defined within the framework of sustainable development. Over the past 30 years, the global community has agreed to address sustainable development through international treaties. Education for sustainable development has been introduced as a response to these challenges. The outcomes of sustainable educational development can genuinely be imparted to students in terms of fostering sustainability consciousness.

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แนวทางการจัดทำแผนระดับที่ 3 และการเสนอแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน...ต่อคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ก). รายงานการสังเคราะห์ตัวชี้วัดด้านการศึกษาไทย ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Angela, W. L., Green A. (2009). Successful globalisation, education and sustainable development. International Journal of Educational Development, 29, pp. 166–174.

Barbara, R. (1990). Apprenticeship in Thinking: Children’s Guided Participation in Culture. New York: Oxford University Press.

Breiting, S., & Mogensen, F. (1999). Action competence and environmental education. Cam. J. Ed., 29, 349–353.

David, B. T. (1974). The One Best System: A History of American Urban Education. New York: Harvard University Press.

Didham, R. J., & Ofei-Manu, P. (2012), “Education for Sustainable development country status reports: An Evaluation of National Implementation during the UN Decade of Education for Sustainable Development (2005-14). in East and Southeast Asia, Hayama, Japan” วันที่ค้นข้อมูล 2 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก http://pub.iges.or.jp/modules/envirolib/view.php?docid= 4140

Gadsby, H. & Bullivant, A. (2011). Global Learning and Sustainable Development. London, UK: Routledge.

Hirsch, E. D. (1996). The Schools We Need and Why We Don’t Have Them. For a contrary view of progressive influence on the schools. New York: Doubleday.

James, W., & Pellegrino, R. G. (1982). Analyzing Aptitudes for Learning: Inductive Reasoning. In Glaser, R., Ed. Advances in Instructional Psychology (pp. 269-345). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Lauren, B. R. (1995). From Aptitude to Effort: A New Foundation for our Schools. Daedlus, 124(4), 89-118.

Lauren, B. R., & Megan, W. H. (1988). Learning Organizations for Sustainable Education Reform. Daedlus, 127(4), 89-118.

UNESCO. (2007). The UN Decade for Education for Sustainable Development (DESD 2005–2014): the first two years. Paris: UNESCO.

Downloads

Published

2024-07-03