การให้อภัยกับความปรองดอง

Authors

  • ศิวัช ศรีโภคางกุล

Keywords:

การให้อภัย, ความปรองดอง

Abstract

การให้อภัยถือเป็นมโนทัศน์ฐานรากสำคัญของความปรองดองและความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์อย่างไรก็ตาม การให้อภัยเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย และยากเกินกว่าที่จะยัดเยียดให้เหยื่อยอมรับได้ บทความปริทัศน์นี้มุ่งศึกษาข้อถกเถียงว่าด้วยการให้อภัยภายใต้ บริบทของการศึกษาเรื่องความปรองดองโดยมุ่งพิจารณาถึง ความหมายความสำคัญและเส้นทางการให้อภัย ผู้เขียนอาศัยวิธี การศึกษาเชิงเอกสารเป็นหลัก โดยอ้างอิงทั้งจากหนังสือและ บทความในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผู้เขียนเสนอว่า ถึงแม้การให้ อภัยจะเป็นเรื่องที่ยากเพียงใดก็ตาม แต่การให้อภัยถือเป็นความจำเป็นยิ่งยวดในทางการเมือง กระนั้นก็ตามการให้อภัยมิได้กระทำกันได้ง่ายดายหรือฉาบฉวยในทางตรงข้าม สังคมการเมืองต้อง ตระหนักถึงความหมายอันลึกซึ้งของการให้อภัย เส้นทางการให้อภัยและภาระของการให้อภัยดังที่ผู้เขียนได้ร่วมถกเถียงและยกตัวอย่าง จำนวนหนึ่งไว้ในบทความนี้Forgiveness is fundamental to the concepts of reconciliation and restorative justice. However, forgiveness is not simple, and it is impossible to force victims to forgive. This review article discusses the concept of forgiveness in reconciliation studies, and considers its meaning, importance, and the route to achieve forgiveness. Books and articles in both Thai and English form the basis for this review article. The author argues that although forgiveness is a political necessity, it cannot be enacted simply and sloppily. On the contrary, political society must recognize the deeper meaning of forgiveness, the route to achieve it, and the task of forgiveness itself. The author raises many examples of forgiveness within the context of reconciliation throughout this review article.

Downloads