ยูโทเปีย : มิติทางสังคมศาสตร์

Authors

  • อัจฉรา ชลายนนาวิน

Keywords:

ยูโทเปีย, ความเท่าเทียม, สังคมอุดมคติ, โทมัส มอร์, Thomas More, Utopia

Abstract

          ยูโทเปีย คือ ชุมชนแห่งอุดมคติ (Ideal Community) หรือสังคม แห่งอุดมคติ (Ideal Society) ที่มนุษย์อยู่ร่วมกันในระบบการเมือง กฎหมาย และสังคมที่สมบรูณ์แบบ แนวคิด ยูโทเปียจาก มอร์ ได้ก่อตัวขึ้น มาพร้อมกับยุคแห่งความก้าวหน้า มีจุดหมายเพื่อปรับปรุงสังคม โดยวิพากษ์ถึงสังคมสมัย ในศตวรรษที่ 15 ทั้งยังเป็นการนําเสนอรูปแบบซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของสังคมที่ดีงามสมบูรณ์แบบ แม้จะเป็นเพียงแค่เรื่องที่ถูกแต่งขึ้น แต่คําว่า ยูโทเปีย ก็ได้ถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวางในการอธิบายสังคมที่ได้ถูกตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อความเป็นอุดมคติ จึงเป็นการจุดประเด็นของคําถามท้าทายว่า สังคมยูโทเปีย คืออะไร และได้เคยเกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์หรือไม่ ทั้งนี้จากการศึกษาเชิงเอกสารได้สะท้อนว่าสังคมยูโทเปียไม่เคยเกิดขึ้นจริงแม้ในช่วงยุคแจ้งก็ตาม และยูโทเปียอาจถือได้ว่าเป็นความสุขอีกรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ที่ผิดหวังกับสังคมแห่งความเป็นจริง อย่างไรก็ตามงานเขียนของมอร์นั้นไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และเป็นเพียงการที่จะเผยแพร่จินตนาการของ มอร์ เท่านั้น           Utopia was an ideal community where society possessed a perfect socio-politico-legal system. The concept of Utopia depicted by Thomas More was aiming to the social improvement in extremist critique of the early Renaissance Age. His proposed model was his ambition to a correction of social imperfection. Although Utopia was only his novel derived from his imagination, Utopia has been used extensively describing a world perfect society. Therefore, Utopia was the focal point of the research questions whether it has been really happened in the real world. According to the study, the paper reflected his falsify of Utopian society. Utopia was only believed as people tried to create the dream world disregarding to their disappointed from reality. Therefore, if the work was not based on facts as it’s only based on More’s fantasy, Utopia was merely another form of fictional novel.

Downloads