สภาพการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • ตวงพร รุ่งเรืองศรี

Keywords:

การจัดการเรียนการสอน, ความพึงพอใจ, ความคาดหวัง, การสอนระดับบัณฑิตศึกษา, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียน การสอนด้านปัจจัยนําเข้า ด้าน  กระบวนการ และด้านผลลัพธ์ โดยการเปรียบเทียบความพึงพอใจและความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการ สอนของ หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่ม แบบชั้นภูมิแบบไม่เป็นสัดส่วน กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิต และมหาบัณฑิต/ ดุษฎีบัณฑิต จํานวน 200 คน และผู้ใช้ มหาบัณฑิต/ ดุษฎีบัณฑิต จํานวน 50 คน รวมทั้งสิ้น 250 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลคือ ค่าความถี่  ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย กรณีที่กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน  (Dependent Sample t-test) ผลการศึกษา พบว่า 1) นิสิตและมหาบัณฑิต/ ดุษฎีบัณฑิต มีความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ด้านปัจจัยนําเข้าและด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากทุกด้าน  ส่วนผู้ใช้มหาบัณฑิต/ ดุษฎีบัณฑิต มีความพึงพอใจด้านผลลัพธ์ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) นิสิตและบัณฑิตมีความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาด้านปัจจัยนําเข้าและด้านกระบวนการ  อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ใช้มหาบัณฑิต/ ดุษฎีบัณฑิต มีความคาดหวังด้านผลลัพธ์ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและความคาดหวัง ทั้งด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และ ด้านผลลัพธ์ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The objective of this research is to examine the status of educational management of the inputs, processes and outputs by comparing the satisfaction in current situation with expectations towards the postgraduate program of the Graduate School of Public Administration, Burapha University. The sample were selected non-proportional stratified sampling consisted of 200 graduate students and 50 educational service providers totaling 250. The statistics used in the study include frequency, mean, percentage, standard deviation and dependent sample t-test. It was found that: 1. Graduate student and graduates had a high level of satisfaction for all inputs and processes while service providers had a very high level of satisfaction for all five output factors; 2. Graduate student and graduates had a very high level of expectation for all inputs and processes with service providers also having a very high level of expectation for all five output factors, and; 3. a comparison of existing conditions and input and process factor expectations as well as result outputs reveals a significant difference when the level of statistical significance is set at .05.

Downloads