นโยบายของรัฐกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย

Authors

  • ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์
  • นันทริกา ชันซื่อ

Keywords:

นโยบายของรัฐ, อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า

Abstract

        ความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าและพันธุ์พืชนอกจากจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญสําหรับทุกประเทศแล้ว ยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในประเทศ นั้น ๆ อีกด้วย แต่สําหรับประเทศไทยพื้นที่ป่าธรรมชาติซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ากลับลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาทําให้สัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ที่เคยมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในป่าก็ลดจํานวนลงอย่างรวดเร็วจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคมจิตวิทยา ปัจจัยทางวิชาการ และปัจจัยทางการเมือง ซึ่งในเอกสารฉบับนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษาถึงนโยบายการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าของรัฐบาลที่ถือว่าเป็นปัจจัยทางการเมืองอย่างหนึ่งว่ามีผลต่อการดําเนินงานอนุรักษ์พันธุ์สัตว์อย่างไร รวมทั้งศึกษานโยบายและมาตรการของต่างประเทศที่ประสบความสําเร็จในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเพื่อนํามาเปรียบเทียบและจัดทําเป็นข้อเสนอแนะในการกําหนดนโยบายต่อไป        ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ออกแบบแบบสอบถามจํานวน 5 ชุด เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าในระดับผู้กําหนดนโยบาย ผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ นักวิชาการ ผู้แทนจากองค์กร ภาคเอกชน และผู้รักษากฎหมาย ผู้วิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามในส่วนของผู้นํานโยบายไปปฏิบัติ นักวิชาการและ NGOs เห็นว่านโยบายของรัฐบาลแต่ละชุดมีความแตกต่างกันไม่มากนัก และไม่มีผลกระทบอย่างสําคัญในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ในขณะที่ผู้บริหารของหน่วยงานที่รับผิดชอบและผู้รักษากฎหมายเห็นว่านโยบายของรัฐบาลมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสําเร็จในการอนุรักษ์ นอกเหนือจากนโยบายของรัฐบาลแล้ว บทบาทของนักการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทําให้ การปฏิบัติงานอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าไม่ประสบความสําเร็จ เพราะผู้ที่ลักลอบตัดไม้ทําลายป่าหรือลักลอบล่าสัตว์มักมีสายสัมพันธ์กับนักการเมือง ทําให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เด็ดขาดเท่าที่ควรเพราะเกรงกลัวอิทธิพลของนักการเมือง ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีความเห็นสอดคล้องกันว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่ายังขาดความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่บุคลากร เครื่องมืออุปกรณ์ อาวุธ งบประมาณ และองค์ความรู้ จนอาจทําให้การดําเนินงานไม่บรรลุผลเท่าที่ควร        สําหรับแนวทางการแก้ไขคือการให้ความรู้แก่ชุมชนในทุกระดับ เพื่อให้เห็นความสําคัญของสัตว์ป่าและช่วยกันอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า รัฐบาลต้องมีความจริงใจในการแก้ปัญหาสัตว์ป่าสูญพันธุ์สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับตัว ปรับองค์กรให้มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากร เครื่องมือ งบประมาณ และที่สําคัญคือองค์ความรู้เพื่อให้การดําเนินงานอนุรักษ์ดําเนินไปถูกทิศทาง          Bio-Diversities and the abundance of wildlife, animal and plants are one of the most important natural resource of the nation as well as the indicator for the quality of environment of that nation. In Thailand, the forest area, which are inhabitats for wild animal has declined dramatically in the last decades which affect in the declining of number and species of wild animal living in those areas. There are many factors involved such as economics, socio-psychology, academics and politics. This paper will aim to study the impact of policies of the state sector on conserving wildlife as well as comparing with the practices in other countries in order to propose the suitable guideline in formulating wildlife conservation policies.         In this study, 5 sets of questionnaires will be used to survey the opinions of those, who works in wildlife conservation namely, policy makers, operators, academics, NGOs and law enforcement officers. The operators, academics and NGOs pointed out that the policies regarding wildlife conservation varied slightly among the governments and have no significant impacts in wildlife conservation. On the contrary, policy maker and law enforcement officers believe that state policies are key success to the wildlife conservation in Thailand. Moreover, they indicated that the roles of politicians, both in local and national levels, can obstruct the wildlife conservation efforts due to their connections with politicians and cabinet members. They also agree that the agencies in charge of wildlife conservation can not operate with full efficiency due to the lack of personal, equipments, weapon, budget and know-how.          It is important to educate the local community about the essence of the forest and wildlife and to conserve them. At the top level, the government must truly put their effort in conserving endangered species as well as provide the relating agencies with personal, equipment, budget and most importantly the know-how so they can work effectively.

Downloads