การสื่อสารทางการเมืองผ่านบทเพลงของพงษ์สิทธิ์ คําภีร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534-2555

Authors

  • ศิริรัตน์ พิสัยเลิศ

Keywords:

การสื่อสารทางการเมือง, เพลง, พงษ์สิทธิ์ คําภีร์

Abstract

          การศึกษาการสื่อสารทางการเมืองผ่านบทเพลงของพงษ์สิทธิ์ คําภีร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534-2555 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบททางการเมือง สังคม และประสบการณ์ทางการเมืองในชีวิตของพงษ์สิทธิ์ คําภีร์ ที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองผ่านเนื้อหาในบทเพลง ช่วงปี พ.ศ. 2534-2555 และ 2) เพื่อศึกษาประเด็นการสื่อสารทางการเมืองในบทเพลงเพื่อชีวิตของพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2534-2555          ผลการศึกษาพบว่า บริบททางการเมือง สังคม และประสบการณ์ทางการเมืองในชีวิตของพงษ์สิทธิ์ที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมืองผ่านเนื้อหาบทเพลงระหว่างปี พ.ศ. 2534-2555 สามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ระหว่างเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนพฤษภาปี 35 ถึงวิกฤตเศรษฐกิจ (ช่วงปี พ.ศ. 2534-2543) ช่วงที่ 2 การเมืองไทยภายใต้รัฐบาลทักษิณและการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 (ช่วงปี พ.ศ. 2544-2549) และช่วงที่ 3 คือ การเมืองไทยภายหลังการรัฐประหารและความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น (ช่วงปี พ.ศ. 2549-2555) ทั้งนี้หากพิจารณาจากบทบาททางการเมืองของพงษ์สิทธิ์ คําภีร์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของศิลปินอย่างในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และการร่วม  ชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นห้วงเวลาที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารทางการเมืองผ่าน บทเพลงของศิลปินมากที่สุด         งานศึกษาวิจัยนี้ยังปรากฏประเด็นการสื่อสารทางการเมืองในบทเพลงเพื่อชีวิตของพงษ์สิทธิ์ คําภีร์  ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2534-2555 โดยสามารถสรุปประเด็นได้ ดังนี้ 1) การส่งเสริมการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย 2) การเสียดสีพฤติกรรมอันมิชอบของนักการเมือง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ 3) การสะท้อนความทุกข์ยากของประชาชนและการเสียดสีสภาพสังคมการเมืองในช่วงนั้น ๆ 4) การส่งเสริมอุดมการณ์ชาตินิยม และ 5) การส่งเสริมสันติภาพและต่อต้านสงคราม           The study entitled “Political Communication through Music of Pongsit Kampee during B.E. 2534-2555” aims to 1) investigate political, social, and Pongsit Kampee’s political experience that had influenced to political communication via music context in the period of B.E. 2534-2555; and 2) analyze political communication issue through Pongsit Kampee’s music between B.E. 2534-2555.          The study results showed that political, social, and Pongsit Kampee’s political experience that had influenced to political communication via music context in the period of B.E. 2534-2555 can be divided into three main periods. Initially, May Day violence in B.E. 2535, People's Constitution in B.E 2540 and Economic Crises (Since B.E. 2534-2543).  Following with the Thai political regime under Thaksin Shinawatra, the protesting of the People's Alliance for Democracy (PAD) until there was the coup on Tuesday 19th   September in 2006 by the Council for Democratic Reform (CDR) (Since B.E. 2544-2549).  Finally, Thailand political landscape after coup and increasing in the political violence (Since B.E. 2549-2555). Considering on the political role of Pongsit Kampee especially once he has directly participated in the political violence in B.E.2535 or it is well known as black may day as well as Thai political conflict during B.E. 2548-2553. All of these political experiences have extremely determined political communication via the music of Pongsit Kampee.           In addition, the research also exposed the issue of political communication through Pongsit Kampee’s music between B.E. 2534-2555, are to be categorized to 1) Underpinning democratic regime; 2) Sarcasm the abuse of power amid politicians, bureaucrats and governmental officials; 3) Manifestation people hardship and ironic political context in each   period; 4) Promoting nationalism ideology; and 5) Keeping peace and anti-war.

Downloads