แนวทางการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการเข้าสู่อาเซียน

Authors

  • เสนีย์ คำสุข

Keywords:

แนวทางการพัฒนา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การเข้าสู่อาเซียน, ASEAN

Abstract

       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในประเทศไทย ได้ก่อเกิดและเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องมายาวนาน โดยสัมพันธ์กับบริบทของการเมืองระดับชาติและกลไกกฎหมายที่ผ่านออกมาบังคับใช้โดยสภานิติบัญญัติที่ค่อนข้างขาดเสถียรภาพและขาดความชอบธรรมจนก่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นหลายครั้ง ในยุคโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ ด้าน ได้ส่งผลกระทบมากมายหลายมิติมาสู่สังคมไทย และ อปท. เหตุนี้จึงนำสนใจศึกษาว่า การพัฒนาที่ผ่านมาของ อปท. ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมานั้นเป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง อํานาจหน้าที่ และ สถาบันภายในกรอบของกฎหมาย แนวทางการพัฒนา อปท. ในอนาคตจะเป็นอย่างไร และแนวคิดและแนวทางปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับ อปท. ในการเข้าสู่อาเซียน          จากการสํารวจเอกสารที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ อปท. และศึกษาสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญที่มีเจตนารมณ์ไปในทางพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตย และกฎหมายเกี่ยวกับ อปท. แต่ละรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงมา จนถึงหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 และกําลังอยู่ในกระบวนการจัดทํารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่คาดว่าจะมีการประกาศใช้ใน พ.ศ. 2560 ก็พบว่า อปท. ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง อํานาจหน้าที่และสถาบันมาอย่างต่อเนื่อง  ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ข้อเท็จจริงของการเมืองไทยที่สําคัญมากอย่างหนึ่งก็คือ การเมืองระดับชาติขาดเสถียรภาพสูง หลังจากความขัดแย้งรุนแรงก็มักจะเกิดวิกฤตการเมืองและผู้นําทหารได้ ใช้กลไกรัฐเข้ายึดอํานาจรัฐบาลมากกว่า 10 ครั้ง ในรอบ 84 ปี ส่งผลให้มีการล้มเลิกรัฐธรรมนูญไปแล้ว มากกว่า 10 ฉบับ และแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับ อปท. หลายครั้ง ที่ยังไม่มีความก้าวหน้าในด้านการกระจายอํานาจและการให้อิสระแก่ อปท. อย่างแท้จริง ในอีกด้านหนึ่ง ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญของการปกครอง ตนเองในท้องถิ่นก็คือ ประชาชน ก็ยังขาดความตระหนักในหลักการสําคัญของการปกครองตนเอง พลังทางสังคมที่จะเกื้อหนุนการพัฒนา อปท. จึงอ่อนแอ ชนชั้นนําทางการเมืองที่มีอํานาจในรัฐบาลเป็นฝ่ายเดียวในการ ใช้อํานาจจัดทํากฎหมายออกมาควบคุมและพัฒนา อปท. ตลอดมา โครงสร้าง อปท. ที่มีการกําหนดไว้ 5 รูปแบบใหญ่ ๆ มีความทันสมัยพอสมควร มีการขยายอํานาจหน้าที่ออกไปหลายด้านแต่ก็ยังมีข้อจํากัดด้านความเป็นอิสระ ทําให้การพัฒนาสถาบัน อปท. ไม่ต่อเนื่องและยังคงอ่อนแอ          ในการที่สมาชิก 10 ชาติ ของสมาคมแห/งชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ที่มีการรวมกลุ่มกันมายาวนานเกือบ 50  ปี และได้ปรับตัวครั้งสําคัญหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็น ด้วยการวางหลักการความร่วมมือออกเป็น 3 ด้าน หรือ “เสาหลัก” โดยเริ่มต้นจากด้านเศรษฐกิจก่อนตั้งแต่ปลายปี 2558 เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นทางเศรษฐกิจที่จะต้องแข่งขันกับนานาชาติ แนวคิดและแนวทางสําคัญของ อปท. ในประเด็นนี้ก็คือ การเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลดีอย่างยั่งยืนในระยะยาว            Local governmental organizations (LGOs) in Thailand have been established and developed for long time. At least from the most important changing of the political system in B.E. 2475 to the present or more than 84 years. The changing and development of LGOs are closed relations to the national political context, which usually instability and illegitimate. After political conflicts happened, it evolved to crisis situation and finally the military leaders used the state mechanism to take coup and erased the constitution and   government.  Such changing in national politics have impacted to LGOs in many ways. So it is very interested to study about that impact for the changing and developing of structures, power and functions, and institutions of the LGOs in the past to the present time and to the future. And study of some important concept and practice for LGOs into Asean changing processes          By documentary study about LGOs development and some constitutions which based on democratization will and LGOs laws from the past to the present time. The facts showed that the LGOs development are depended on the political leaders in national   government positions, whose faced on political instability and illegitimacy in many conflicts from inside and outside government. So it is the top – down development that make modernization for the LGOs’s structures in the most of 5 kinds of LGOs. There are limited in many parts of LGO’s functions in term of decentralized of powers, that make less development of LGO’s institutions. While the local peoples are not perceived in the self-governed principle. Social forces to support LGOs development, therefore, are weakened.          “ASEAN” be formed for nearly 50 years and developed the association of 10 nation members to the three main pillars for more competition in rapidly changing of the globalization era. It is going to AEC, the first pillar, from the end of the year 2015, that means to have more co-operation and be oneness of the members. For that changing of Asean, LGOs have to focus a main duty in human resources development (HRD) for the purpose of sustainable development in the future.

Downloads