การอยู่ร่วมกันของความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายในองค์กร พหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทาง ภาษา: กรณีศึกษา MAP Foundation

Authors

  • ปรีชภักดิ์ ทีคาสุข

Keywords:

Chantal Mouffe, ภาษา, คู่ปรับ-คู่แข่ง, ความหลากหลายทางวัฒนธรรม, ความหลากหลายทางภาษา, วัฒนธรรมองค์กร

Abstract

          บทความนี้ใช้กระบวนการวิจัยจากการสังเกตการณ์ และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติ หน้าที่รวมกับองค์กรแห่งหนึ่ง ในระยะเวลา 4 เดือน มาตีความเชิงวิชาการและทฤษฎีเพิ่มเติมเพื่อหาคําตอบใน ประเด็นที่ว่าด้วยการทํางานรวมกันภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยหลีกเลี่ยงการกลืนกินอัตลักษณ์ ของกันและกัน ซึ่งเน้นจุดสําคัญในเรื่องของภาษา อันได้รับแรงกระตุนมาจากกรอบมโนทัศน์ทางปรัชญาเรื่อง “การเมืองว่าด้วยเรื่องคู่ปรับ-คู่แข่ง” (Agonistic Politics) ของ Chantal Mouffe บวกกับการออกแบบงานวิจัยที่เป็นงานวิจัยลูกผสมระหว่างสายมานุษยวิทยาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทําให้แนวคิดของ  Mouffe มีส่วนช่วยในการตีความปรากฏการณ์ที่ศึกษานี้ได้อย่างเป็นระบบและมีพัฒนาการยิ่งขึ้น ผลการศึกษา พบว่า องค์กรแห่งนี้เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กร คือการไม่ได้ประกาศใช้ภาษาราชการในองค์กรอย่างเป็น ทางการทําให้สมาชิกภายในองค์กรสามารถใช้ภาษาถิ่นของตนเองในการสื่อสารกับสมาชิกอื่น ๆ ได้อย่างอิสระ  สะท้อนลักษณะการทํางานร่วมกันบนพื้นฐานของ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมทางภาษานั้นเป็นสิ่งที่ เป็นไปได้ด้วยวิธีการ “อยู่ร่วมกันแบบคู่ปรับ-คู่แข่ง” โดยไม่จําเป็นต้องกลืนกันและกันให้อัตลักษณ์ของใครต้อง ละลายหายไป ข้อสรุปของงานวิจัยชิ้นนี้มีช่องว่างประการหนึ่งคือ องค์กรที่ศึกษาเป็นองค์กรขนาดเล็ก มีระบบ การจัดการไม่ใหญ่โตทําให้อาจเป็นข้อจํากัดหากมีการนําไปศึกษาองค์กรที่มีระดับโครงสร้างขนาดใหญ่            This study is grounded in observations and experience during enrollment in the 4-month Cooperative Education course with MAP Foundation to shed light on an academic-theoretical interpretation of a multi-cultural and multi-lingual work environment. To unearth a solution for how to work together without assimilation or subsumption of identities, the focal point was set on language (multi- lingual) according to Chantal Mouffe’s philosophical concept of “Agonistic Politics”. It was seen that Mouffe’s philosophy could strongly contribute to this research systematically and progressively.            From observation, it could be seen that the organization has an organizational culture that refused the use of an official language, which allowed employees and workers to speak in their own languages without an overlap of languages. Lastly, cooperative working in a multicultural milieu, especially linguistic- multiculturalism, is confirmed as possible by Mouffe’s agonism, and without assimilating others’ identities, even temporarily.  However, the findings still have limitations due to MAP Foundation’s as small size with a rather small administrative system. This might be an obstacle in applying the findings to a bigger organization.

Downloads