ความท้าทายของการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคเหนือตอนบน
Keywords:
การวิจัยเพื่อท้องถิ่น, การวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์, การวิจัยเพื่อการพัฒนาAbstract
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ในการนําเสนอเกี่ยวกับการศึกษาปัญหา ระบุความท้าทาย ให้ข้อเสนอแนะ และให้ความเห็นต่อแนวโน้มการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคเหนือตอนบน ซึ่งการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์โดยเฉพาะงานวิจัยที่ตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นประสบปัญหาการขาดการประสานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานให้ทุน การขาดความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานวิจัยในทุกระดับกับภาค เอกชนขาดความชัดเจนในเรื่องที่จะทําวิจัย งานวิจัยไม่ถูกนําไปใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ความท้าทาย ในการดําเนินการวิจัย ประกอบด้วย ความท้าทายต่อตัวนักวิจัย ในการพิจารณาถึงสิ่งที่ควรทํา สิ่งที่ควรต่อยอด และสิ่งที่ควรต้องระมัดระวังในการเลือกทํางานวิจัย และความท้าทายของการกําหนดโจทย์ของการวิจัย ทั้งนี้ เพื่อให้งานวิจัยได้ใช้ประโยชน์และเกิดความสอดคล้องกับความต้องการในทุกภาคส่วน ควรมีการประสาน ความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานให้ทุนการวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนกับยุทธศาสตร์การวิจัยระดับชาติให้เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาและปัญหาระดับท้องถิ่น สร้างความชัดเจนในเรื่องที่จะทําวิจัยเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาให้กับท้องถิ่นหรือพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม สร้างความร่วมมือระหว่างชาวบ้าน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดบทบาทในการทําวิจัยและการพัฒนาร่วมกัน แนวโน้มของการดําเนินการวิจัยทางด้านรัฐประศาสตร์ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะดําเนินไปภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี 2560-2579 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่ 3 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานของประเทศ The purposes of this article were to present problems, to identify challenges, to suggest, and to share opinions about trend of public administration research for local development in the upper northern region. Public administration research, especially research that serves local development, has experienced with lacking of coordination between funding agencies and between research institutions and private sectors, lacking of clarity on what needed to be study, and not being brought to utilize. Although, the research has confronted lots of problems, there were awaited many challenges which were 1) challenges for researchers themselves to consider what should be studied, what should be continued, and what should be choose carefully and 2) challenges to determine questions of research. Furthermore, in order to utilize any researches responded to every sector ought to build linkage between funding agencies from both public and private sector and national research strategies into local development strategies and local problems, clarify in what should be studied for concrete solving to local area, build collaboration between the locals, communities and local administrative organizations to reach development goal together. However, trend of doing public administration research in the future intends to continue beneath 20 years of research and innovation strategies 2017- 2036. Particularly, It is expected to run under 2nd strategy- Research and Innovation for Social and Environmental Development- and 3rd strategy- Research and Innovation for the Establishment of basic knowledge of the country.Downloads
Issue
Section
Articles