คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21

Authors

  • ตวงพร รุ่งเรืองศรี

Keywords:

คุณลักษณะพึงประสงค์, ผู้บริหาร, ศตวรรษที่ 21

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและวิเคราะห์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 วิธีการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการจัดเสวนาทางวิชาการ ในรูปแบบการอภิปรายแบบคณะ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ควรเน้นด้านสภาพแวดล้อมภายใน ได้แก่ โครงสร้างองค์การ ระบบงาน และวัฒนธรรมองค์กร ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย ทางเศรษฐกิจ ทางเทคโนโลยี และทางสังคมและวัฒนธรรม ส่วนด้านสภาพ แวดล้อมระหว่างประเทศ ได้แก่ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ ด้านการค้าและการลงทุน ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการรวมกลุ่มพันธมิตรทางการค้า สําหรับคุณลักษณะของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 พบว่า 1) สมรรถนะหลัก ได้แก่ การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม 2) สมรรถนะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การมองภาพองค์รวม การใส่ใจและพัฒนาผู้อื่น การสืบเสาะหาข้อมูล ความเข้าใจข้อแตกต่างทางวัฒนธรรม การดําเนินการเชิงรุก ความมั่นใจในตนเอง ศิลปะการสื่อสารจูงใจ การสร้างสัมพันธภาพ และ 3) สมรรถนะทางการบริหาร ได้แก่ วิสัยทัศน์ การวางกลยุทธ์ภาครัฐ การควบคุมตนเอง           This study aims to analyse the administrative environment of the 21st Century and the consequent desired competencies of administrators. The research methodology is qualitative, using two data gathering methods: content analysis of relevant documents and an open academic debate between five qualified academics. Content analysis is used to interpret the results. The research results indicated that internal environmental issues   which administrators should emphasize in the administrative environment of the 21st century include organizational structure, system organization, and organizational culture, while external environmental factors include political and legal environment, economy, technology and societ and culture. Transnational environmental issues include the ASEAN Economic Community, transnational communication, trade and investment, transnational conflict and the formation of trade blocs. The desired competencies of administrators in  the 21st century were: 1) key competencies of professional development, and following ethical and moral standards; 2) job performance competencies of analytical thinking,  holistic thinking, care and development of others, seeking information, cultural sensitivity, proactive work, self-confidence, ability to communicate motivationally and building relationships, and; 3) administrative competencies of vision, public sector strategies and self-control.

Downloads