การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การใช้ประโยชน์จาก ต้นจาก ในชุมชนเกาะหยงสตาร์ จังหวัดตรัง
Keywords:
การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การจัดการความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ต้นจาก, จังหวัดตรังAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการ ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง การใช้ประโยชน์จากต้นจากผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะหยงสตาร์ จังหวัดตรังและเพื่อศึกษาแนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่อง การใช้ประโยชน์จากต้นจากผ่านการมีส่วนร่วม ของชุมชนเกาะหยงสตาร์ จังหวัดตรัง มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ คนนอกและ คนใน รวม 10 คน ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพคือ การวิเคราะห์ เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม การสํารวจพื้นที่ และแผนที่ความคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คนในชุมชนเกาะหยงสตาร์ จังหวัดตรัง ยังการเห็นคุณค่าการใช้ประโยชน์ภูมิ ปัญญาท้องถิ่นจากต้นจากโดยในพื้นที่ยังคงมีผู้ที่ใช้ประโยชน์กับต้นจากทั้งในด้านอุปโภคและบริโภค โดยต้นจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่ควรอนุรักษ์เอาไว้เพราะสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ยอดอ่อนจนถึงราก ได้รับ การเรียนรู้ผ่านการสังเกต บอกเล่า ลงมือปฏิบัติ สอนให้แก่ลูกหลาน ผู้ใหญ่ในชุมชนต้องการสืบทอดให้แก่เด็กที่อาศัยในท้องถิ่นเพื่อไม่ให้องค์ความรู้การใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากต้นจากสูญหายไป 2) ประเด็นการ จัดการความรู้การใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากต้นจาก พบว่า ส่วนประกอบของต้นจากที่เป็นองค์ความรู้ในชุมชน เกาะหยงสตาร์ จังหวัดตรัง รวม 10 ส่วน ใช้อุปโภค มี 6 ส่วน คือ ใบแก่ ใบอ่อน ใบกึ่งอ่อนกึ่งแก่ ก้านจาก โคนทางจากและราก ใช้บริโภค มี 2 ส่วน คือ ลูก และดอกจาก 3) กลุ่มคนที่ชุมชนต้องการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการใช้ประโยชน์จากต้นจากคือ “เด็กในพื้นที่” 4) การพัฒนาแนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการใช้ประโยชน์จากต้นจาก คือ การจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการใช้ประโยชน์จาก ต้นจากให้แก่เด็กโดยสอดแทรกเป็นกิจกรรมเสริมความรู้ในโรงเรียนในพื้นที่ This participatory action research aims to study the pattern of knowledge management and knowledge transfer of local wisdom towards the utilization of Nipa palm and to study in Yong-Star Island community, Trang Province. The data was collected from 10 stakeholders (inside and outside community participated) using focus group, in-depth interview, participant observation, field survey, and mind mapping. The qualitative data were analyzed by content analysis. The findings are as follows: 1. Yong-Star Island community values the local wisdom towards both utilization and consumption of Nipa palm which is the local industrial drop. Most parts of Nipa palm can be beneficial. This local wisdom occurs through the observation, experiential learning, and handing down through generations; consequently, its knowledge’s still exist nowadays. 2. The results of knowledge management’s process are divided into 2 part which are the utilization and consumptions of Nipa palm. Six parts for utilization are mature leaves, young leaves, semi-mature leaves, stalks, boles, and roots, and two parts for consumption fruits and flowers. 3. Local children are the group of people whom people of the community think that they should transfer their knowledge about the benefit of Nipa Palm. 4. In order to develop to the knowledge transfer of local wisdom towards the utilization and consumption of Nipa palm, the community should provide the knowledge transfer to local children by integrated in local school activities.Downloads
Issue
Section
Articles