แนวคิดเชิงจริยธรรมในการบริหารรัฐกิจ: การเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเชิงจริยธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
Keywords:
จริยธรรม, แนวคิดเชิงจริยธรรม, การบริหารรัฐกิจ, การเปลี่ยนแปลงAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเชิงจริยธรรมในการบริหารรัฐกิจ โดยมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเชิงจริยธรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ การ วิจัยเอกสาร (Documentary Research) ผลจากการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลากว่า 13 ทศวรรษ นับตั้งแต่เกิด สาขาวิชาการบริหารรัฐกิจขึ้นมา แนวคิดเชิงจริยธรรมในการบริหารรัฐกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ (1) จริยธรรมในการบริหารภาครัฐแบบดั้งเดิม (Traditional Public Administration: TPA) ซึ่งแนวคิดเชิง จริยธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ และแนวคิดเรื่องประสิทธิภาพ (2) จริยธรรมในการบริหารภาครัฐแนว ใหม่ (New Public Administration: NPA) ซึ่งแนวคิดเชิงจริยธรรมตั้งอยู่บน พื้นฐานของความเป็นธรรมใน สังคมและการตัดสินใจจากสํานึกที่อยู่ภายใน ของบุคคล และ (3) จริยธรรมในการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) ซึ่งแนวคิดเชิงจริยธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริหารงานโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการให้ความสําคัญกับผู้รับบริการ และในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเชิง จริยธรรมเป็นผลมาจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ (1) แนวคิดเชิงจริยธรรม ในแต่ละยุคมีจุดอ่อนและข้อบกพร่องในตัวเอง และ (2) บริบทในด้านต่าง ๆ ของโลก เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป The objective of this research is to study the ethical concepts in public administration, focusing on the change of ethical concepts from past to present. Methodology used in the study is documentary research. The findings show that, over a period of more than 13 decades since the establishment of the public administration as a field of study, the ethical concepts in public administration can be divided into three ages. They are: (1) ethics in traditional public administration (TPA), which is based on the rules and concepts of efficiency; (2) ethics in new public administration (NPA), which is based on social justice and decision making from internal consciousness of person; and (3) ethics in new public management (NPM), which is based on result-based management and customer oriented. Moreover, in this research, the researcher has analyzed that the change of ethical concepts is due to two main causes: (1) each ethical concept has its own weaknesses and shortcomings, and (2) various contexts of the world such as politics, economy, society, and technology; change.Downloads
Issue
Section
Articles