แรงกระเพื่อมทางการเมืองที่มีผลต่อแนวคิดอิสรเสรีและความเสมอภาคของโรงเรียนทางเลือก: กรณีศึกษา โรงเรียนมีชัยพัฒนา จ.บุรีรัมย์

Authors

  • ณิชาพัฒน์ เพิ่มทองอินทร
  • กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล

Keywords:

การเมือง, แนวคิดอิสรเสรี, แนวคิดความเสมอภาค, โรงเรียนทางเลือก

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงแนวคิดอิสรเสรีและความเสมอภาค ที่ปรากฏผ่านการ  จัดการศึกษาของโรงเรียนทางเลือก และศึกษาถึงแรงกระเพื่อมทางการเมืองที่มีผลต่อแนวคิดอิสรเสรีและ  ความเสมอภาคของโรงเรียนทางเลือก ตลอดจนทราบถึงแนวทางการจัดการของโรงเรียนทางเลือกต่อการ   เจริญเติบโตของแนวคิดอิสรเสรีและความเสมอภาคในการตื่นตัวทางการเมืองในสังคมปัจจุบัน กรณีศึกษาโรงเรียนมีชัยพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ผลการศึกษาพบว่า การเรียนการสอนเน้นความมีอิสรเสรีของผู้เรียน โดยยึด  ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดปรัชญาประสบการณ์นิยมของจอห์น ดิวอี้ โดยวิธีการสําคัญที่ใช้ใน การเรียนรู้ของผู้เรียน คือ การกระทําและเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในเรื่องของความเสมอภาค พบว่า   โรงเรียนได้สั่งสอนให้นักเรียนมีจิตสํานึกในการมองเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ว่าคนเราทุกคนมีค่าในตัวเองเท่า ๆ กัน และสอนให้เรียนรู้ที่จะแบ่งปันแก่ผู้ที่ด้อยโอกาส         สําหรับแรงกระเพื่อมทางการเมืองที่มีผลต่อแนวคิดอิสรเสรีและความเสมอภาค พบว่า ไม่สามารถส่งผลกระทบกับโรงเรียนมีชัยพัฒนา โดยกระบวนการในการจัดการและรับมือกับแนวความคิดดังกล่าว คือ  การที่โรงเรียนมีชัยพัฒนามีเป้าหมายในการผลิตเด็กให้เจริญเติบโต ควบคู่ไปกับคุณธรรม ความดีงาม ด้วยวิถีแห่งสติปัญญา อย่างมีเหตุ มีผล เพื่อที่จะเป็นพลเมืองที่ดีในวิถีประชาธิปไตย           This research studies the idea of liberty and equality reflected from alternative school pedagogy, as well as the impact of political changes on the idea of liberty and equality on the school itself, along with the management implemented to nourish the idea of liberty and equality in contemporary Thai politics.          From the case study of Meechai Pattana School, Buriram province, the research finds a student-centered liberal education, as envisioned by John Dewey’s Empiricism, through pedagogy constructed around hand-on and direct experience. On the idea of liberty and equality, the school teaching cultivates on humanistic view of human dignity, equal intrinsic values, and charity.          For the impact of political changes on the idea of liberty and equality, the research does not find significant effects to the school, as it aims to nurture students with holistic growth in good moral and rational intelligent, to become good citizens in democratic society.

Downloads