การสืบทอดตํารับยาสมุนไพรท่ามกลางพลังอํานาจของการแพทย์สมัยใหม่ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักตอนล่าง

Authors

  • ปริชัย ดาวอุดม
  • วิมลพรรณ ดาวดาษ

Keywords:

ยาสมุนไพร, ภูมิปัญญา, การเรียนรู้ภูมิปัญญา, การสืบทอด, การแพทย์สมัยใหม่

Abstract

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอ 1) เงื่อนไขและกระบวนการการสืบทอด ภูมิปัญญาตํารับยาแผนไทยท่ามกลางพลังอํานาจของการแพทย์สมัยใหม่ 2) บทบาทของการแพทย์แผนปัจจุบันที่เข้าไปเบียดขับลดทอนคุณค่าและความหมายของการใช้ยาสมุนไพรไทย และ 3) เสนอถึงวิธีการ และเงื่อนไขตลอดจนกระบวนการที่ผู้สืบทอด ภูมิปัญญาตํารับยาสมุนไพร ใช้ในการต่อสู้ต่อรอง และสร้างความหมายเพื่อทําให้ตํารับยา สมุนไพรสามารถคงอยู่ ได้รับการยอมรับจากผู้คนในชุมชนต่อไป ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีวิทยาของ การศึกษาเรื่องเล่า ภายใต้กระบวนทัศน์สร้างสรรค์นิยม ซึ่งมีฐานคิดในการมองความรู้ ความจริงว่าเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยใช้การสนทนาเพื่อเล่าเรื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เพื่อสร้างเรื่องเล่า          ผลการศึกษาพบว่า เงื่อนไขในการสืบทอดภูมิปัญญาตํารับยาแผนไทยท่ามกลาง พลังอํานาจของการแพทย์สมัยใหม่ มีสองประการคือ เงื่อนไขเชิงบวกอันมาจากการได้ใกล้ชิดกับเจ้าของภูมิปัญญาและบริบทชุมชนที่มีความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ และเงื่อนไขเชิงลบที่มาจากการขยายตัวของการแพทย์สมัยใหม่ สําหรับกระบวนการในการสืบทอดภูมิปัญญาตํารับยาแผนไทยท่ามกลางพลังอํานาจของการแพทย์สมัยใหม่ มีสี่ประการคือ 1) การเรียนรู้แบบครูพักลักจํา 2) การได้มาซึ่งสมุนไพรอันเป็นตัวยา 3) การปรุงยาและการเก็บรักษา 4) การจําหน่าย แจกจ่ายและการใช้ยา กระบวนการที่ใช้ในการต่อสู้ต่อรอง และสร้างความหมายเพื่อทําให้ตํารับยาสมุนไพรยังคงอยู่ต่อไป คือ การสร้างความหมายด้วยปรากฏการณ์บางประการ เพื่อให้สมุนไพรกลายมาเป็นทางเลือกของคนในชุมชน การใช้สายสัมพันธ์ทางการเมือง เพื่อลดแรงปะทะกับตัวแทนแพทย์สมัยใหม่ในชุมชน การไม่ประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ การเพาะปลูกสมุนไพรขึ้นเองอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การแสดงตนว่ายอมรับการแพทย์สมัยใหม่           The objectives of this article are 1) to present the conditions and process of inheritance of ancestral knowledge of herbal medicine in the period of modern medicine, 2) to disclose how modern medicine has devalued and changed the meaning of traditional herbal medicine, and 3) to show the process that women who decide to inherit their ancestral knowledge of herbal medicine use to take up this role as well as how a practice of traditional medicine is used as a form of resistance against the modern medication system to create a new meaning and acceptance for traditional medicine within the community, Researchers deployed narrative research, in which the fundamental believe is that the fact is established from social interaction of people in the community, to collect the information and analyze the stories from the perspectives of women who practice herbal medicine.          The analysis reveals two conditions that bolster women to inherit their ancestral knowledge of herbal medicine. The first condition is the fact that these women have close connection with their ancestor, who is a healer, and they live in a community with diverse cultures and ecosystems. The second condition is the introduction and spread of modern medicine into their lives and communities. The analysis also suggests that there are four processes women use to inherit and preserve their ancestral knowledge of herbal medicine: 1) by learning through the back door, 2) by having herbal of their own, 3) preserving herbs and making herbal medicine, and 4) by distributing and using herbal medicine. Furthermore, key informants use several forms of resistance to challenge the modern medicine such as creating a new meaning of herbal medicine, using political connections to reduce tensions between local healers and modern medical practitioners, refusing to turn their herbal medicine knowledge into a business, planting herbal plants, and acceptance of modern medicine.

Downloads