“ครอบครัวคนข้ามเพศ” จากความผิดปกติและความเป็นอื่น สู่การมีตัวตนและพื้นที่ทางสังคม: บทวิเคราะห์ตามแนวคิดวาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์

Authors

  • สุชานุช พันธนียะ

Keywords:

วาทกรรม, ครอบครัว, คนข้ามเพศ, มิเชล ฟูโกต์, Michel Eoucault

Abstract

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอวรรณกรรมในประเด็น “คนข้ามเพศ” และ “ครอบครัวคนข้ามเพศ” ในฐานะที่เป็นวาทกรรม โดยทําการวิเคราะห์วาทกรรมในความหมายของ มิเชล ฟูโกต์ นอกจากนี้ยังพูดถึงกระบวนการสร้างตัวตนและพื้นที่ทางสังคมของ “คนข้ามเพศ” และ “ครอบครัวคนข้ามเพศ” ว่ามีลักษณะอย่างไร โดยมีเป้าหมายเพื่อนําไปสู่การพูดถึงในสิ่งที่ไม่ได้มีการพูดถึง สิ่งที่พูดไม่ได้ หรือไม่ได้พูดในสังคม ซึ่งเป็นผลจากระเบียบกฎเกณฑ์ในสังคมที่เพศวิถีกระแสหลักกําหนดขึ้นมา          จากการวิเคราะห์ตามแนวคิดมิเชล ฟูโกต์ พบว่า สังคมได้ประกอบสร้างให้กลุ่มคนข้ามเพศมีลักษณะเป็นขั้วตรงข้าม (Binary Opposition) ต่อแนวทางเพศวิถีแบบรักต่างเพศ ซึ่งเป็นแนวเพศวิถีกระแสหลักของสังคม บ่อยครั้งการประกอบสร้างลักษณะขั้วตรงข้ามดังกล่าวมักกระทําโดยการใช้ภาษาในการผลิตซ้ำ การป้ายสี การประณาม และกีดกันกลุ่มคนที่มีเพศวิถีที่แตกต่างจากกระแสหลักออกจากกิจกรรมทางสังคม ส่งผลให้เพศวิถีในแนวทางอื่นอย่างคู่รักของคนข้ามเพศด้วยกัน (Homosexuality) เป็นสิ่งที่ “ผิดปกติ” “ไม่เป็นธรรมชาติ” ซึ่งความขัดแย้งนี้ได้ถูกประกอบสร้าง ผลิตซํ้า ตอกยํ้า และแสดงออกมาผ่านรูปแบบทางวาทกรรมและการประพฤติปฏิบัติอันหลากหลายของสมาชิกและสถาบันในสังคม ส่งผลเป็นกําแพงปิดกั้นไม่ให้กลุ่มคนดังกล่าวมีพื้นที่ทางกิจกรรมทางสังคมในระดับขั้นพื้นฐาน ดังนั้นความพยายามในการสร้างตัวตนและพื้นที่ของคนข้ามเพศให้มีอัตลักษณ์ร่วม (Collective Identity) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการอ้างอิงความเป็น ตัวตนและการรวมกลุ่มเพื่อสร้างพื้นที่ให้กับตนเองนั้น จึงเป็นเสมือนทางออกที่หลุดพ้นจากความเป็นอื่นในวาทกรรมกระแสหลัก           This article’s objectives are to present the issues of “transgender people” and “transgender families” as discourse and analyze it based on Michel Foucault’s notion. In order to discover untold and unexplored truths suppressed by social rules of the mainstream sexuality, the article also discusses how the “transgender people” and “transgender families” form personal identity and social space.           According to Michel Foucault’s notion of discourse, the society conceives of transgender people as binary opposition against heterosexuality, or the mainstream sexuality. Oftentimes binary opposition is caused by verbal reproduction, condemnation and discrimination against those whose sexualities are different from the mainstream one. In other words, those who do not fit in the mainstream sexuality such as homosexual people tend to be labeled as “abnormal” or “unnatural”. This conflict about sexuality can be seen through discourse and reactions by various members and institutes in the society. Due to such conflict, the transgender people have been prevented from accessing fundamental social space. Attempts to form personal identity and social space thus have been made by the transgender people to gain collective identity, which can be seen as a symbol of their own identity claim. For them, to stay collectively as a group and build their own social space allows them to exit from otherness according to the mainstream discourse.

Downloads