วัฒนธรรมองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง ในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง

Authors

  • อุษณากร ทาวะรมย์

Keywords:

วัฒนธรรมองค์การ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, จังหวัดชลบุรี, จังหวัดระยอง

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การในปัจจุบันขององค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง และเพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่ต้องการ  ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และ เทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง โดยเก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองในจังหวัด  ชลบุรีและจังหวัดระยอง รวมทั้งสิ้น 4,225 คน พร้อมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ  จํานวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา          ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์การในปัจจุบันที่เป็นวัฒนธรรมเด่นคือ วัฒนธรรม สายบังคับบัญชา และมีวัฒนธรรมรองคือ วัฒนธรรมสัมพันธ์เกื้อกูล ส่วนวัฒนธรรมที่ต้องการคือ วัฒนธรรมสัมพันธ์เกื้อกูล สําหรับแนวทางการจัดการวัฒนธรรม คือ (1) ลดวัฒนธรรมสายบังคับบัญชา และเพิ่มวัฒนธรรมการ ปรับเปลี่ยนให้มากขึ้น (2) เตรียมคนให้พร้อมสร้างแผนปฏิบัติการรองรับให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ปรับวิธีการ ทํางานที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ การทํางานเชิงรุก และนําเทคโนโลยีมาช่วยในการทํางานและการบริการ และ  (3) ลักษณะที่องค์การต้องเน้น ได้แก่ การสร้างพลังอํานาจแก่บุคลากรให้มากขึ้น การส่งเสริมการทํางานเป็น ทีม การส่งเสริมการมีส่วนร่วม การปรับระเบียบให้ยืดหยุ่น การสนับสนุนความคิดใหม่ ๆ ในการปฏิบัติ รวมทั้ง การปรับตัวให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและความต้องการของผู้รับบริการ           The purposes of this research were to examine existing organizational cultures of Provincial Administrative Organization, City Municipality and Town Municipality located in Chon Buri and Rayong provinces and to investigate desired organizational cultures of these organizations. The data collection tool was questionnaire which was distributed to personnel working for these local governments, total of 4,225 persons. Also, an in-depth interview technique was used to collect the data from the key informants which comprised of 24 representatives of administrators and practitioners. The quantitative data was analyzed by descriptive statistics and the qualitative data was analyzed by content analysis.          The results found that an existing and outstanding organizational culture was the hierarchy culture and followed by the clan culture. Also, the clan culture was rated as a desired culture. Furthermore, the guidelines for managing cultures were (1) the local administrative organizations diminished the hierarchy culture and focused more on the adhocracy culture, (2) the local administrative organizations managed manpower preparation, created practical and concrete plans, adjusted the way of creative work process, including proactive practice, and used technology in work and service provision, and (3) the desired organizational culture were to empower working personnel, promote team-working and participation, adjust regulations to be flexible, encourage new ideas for practice, and adapt to be consistent with environment and needs of service receivers.

Downloads