การธํารงรักษาบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชันวายขององค์การภาครัฐและเอกชน

Authors

  • พงศกร ศรีรงค์ทอง
  • จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์

Keywords:

การธำรงรักษา/ บุคลากร/ กลุ่มเจเนอเรชันวาย/ องค์การภาครัฐ/ องค์การภาคเอกชน/ Gen Y

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการธํารงรักษาบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชันวาย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการธํารงรักษาบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชันวาย และสร้างแนวทางการธํารงรักษาบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชันวายของ องค์การภาครัฐและเอกชน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน แบบแผนคู่ขนาน  (Concurrent Parallel Design)  วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรกลุ่มเจเนอเรชันวาย อายุ 18-37  ปี ที่ทํางานอยู่ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 426 คน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้  ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (r) และการวิเคราะห์ การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารหรือ หัวหน้างาน ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จํานวน 8 คน และบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชันวาย จํานวน  8 คน ขององค์การภาครัฐและเอกชนที่เป็นต้นแบบด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกรณีศึกษา          ผลการวิจัย พบว่า 1) การธํารงรักษาบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชันวายโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการธํารงรักษาบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชันวาย พบว่า ความผูกพันต่อองค์การ การรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การ คุณภาพชีวิตการทํางาน และแนวปฏิบัติในการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กัน และมีอิทธิพลร่วมกันต่อความแปรปรวนของการธำรงรักษาบุคลากร และสามารถใช้เป็นตัวพยากรณ์การธำรงรักษาบุคลากรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์เท่ากับ 0.67 กล่าวคือ ความผูกพันต่อองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน และแนวปฏิบัติในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถพยากรณ์หรืออธิบายความแปรปรวนของการธำรงรักษาบุคลากรได้ร้อยละ 67 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ และ 3) แนวทางการธำรงรักษาบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชันวายขององค์การภาครัฐและเอกชน เรียกว่า CSQH Model ประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้าน คือ ความผูกพันต่อองค์การ แนวปฏิบัติในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และคุณภาพชีวิตการทำงาน           The present research study was conducted with major aims to investigate the retention of Generation Y employees, the factors related to the retention in public and private organizations and to derive the approach of Generation Y employee retention. This mixed-method study was conducted under concurrent parallel design. Questionnaire inquiries were administered to obtain quantitative data from 426 Generation Y employees who were 18-37 years old and worked in Bangkok. The quantitative data were analyzed using descriptive statistics as follows; frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient (r), and multiple linear regression. The qualitative data were collected from in-depth interviews with 8 executives and supervisors in the human resources   departments of the selected model organizations. In addition, 8 Generation Y employees from government organizations and private companies were interviewed to facilitate the   study with qualitative data from both sides.          The results of this study revealed the following findings. 1) The retention of  Generation Y employees was found to be at a high level. 2) The following factors related to  the retention of Generation Y employees; organizational commitment, perceived  organizational support, quality of work life, and human resource management practices were  found to be correlated and accounting for variance in employee retention with statistical significance of .01, and 0.67 coefficient of determination. That meant organizational commitment, perceived organizational support, quality of work life, and human resource management practices could be regarded as predictors which explained 67 percent of variance in employee retention in this case. This also complemented the qualitative    findings. 3) The present approach of Generation Y employee retention in public and private  organizations is the CSQH Model. It consisted of 4 dimensions including organizational commitment, human resource management practices, perceived organizational support, and quality of work life.

Downloads