การรับรู้ข่าวสารปัญหาเด็กจมน้ำในประเทศไทย

Authors

  • กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล

Keywords:

การรับรู้ข่าวสาร/ เด็กจมน้ำ/ ปัญหาเด็กจมน้ำ/ ประเทศไทย

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสารปัญหาเด็กจมน้ำของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กเด็ก และประชาชนทั่วไปโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จำแนกเป็นเด็กอายุ 5-14 ปี รวม 4,000 ตัวอย่าง และประชาชนทั่วไป รวม 1,000 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ผลการสำรวจใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยการนำข้อมูลมาหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่การแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ          ผลการสำรวจ ในภาพรวมแล้วพบว่า กลุ่มประชาชนทั่วไปมีการรับรู้ข่าวสารปัญหาเด็กจมน้ำในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี ในเกือบทุกประเด็น ยกเว้นเพียงบางประเด็นเท่านั้นที่พบว่า กลุ่มเด็กจะมีการรับรู้ปัญหาที่สูงกว่า ได้แก่ “การจมน้ำทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ตายมากเป็นอันดับหนึ่ง”, วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ”, “แหล่งน้ำใกล้บ้าน ทั้งแอ่งน้ำ บ่อขุด สระน้ำ เป็นแหล่งที่เด็กจมน้ำตายมากที่สุด” นอกเหนือจากนี้ผลการสำรวจยังชี้บ่งได้ว่า ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญในการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารให้เกิดความรับรู้และเข้าใจที่ถูกต้องทั้งในกลุ่มเด็กและเยาวชนทั่วไป เนื่องจากมีสัดส่วนการรับรู้ในประเด็นดังกล่าวค่อนข้างน้อยในทั้งสองกลุ่ม ได้แก่          - “วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ” เด็กที่รับรู้มีร้อยละ 12.70 ขณะที่กลุ่มประชาชนทั่วไปรับรู้เพียง ร้อยละ 9.30          - เมื่อช่วยคนจมน้ำขึ้นมาบนฝั่งแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำคือ อุ้มพาดบ่าแล้วกระแทกเอาน้ำออก (ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง) นั้น พบว่ามีเด็กร้อยละ 56.28 และประชาชนทั่วไปถึงร้อยละ 71.60 รับรู้รับทราบว่าเป็นวิธีการปฏิบัติถูกต้องในการช่วยเหลือคนจมน้ำ            This research had the objective to understand the perception about child drowning news and problems of parents/children’s guardians, and the general public by using the survey research in the area of Bangkok and its vicinity, central region, northern part, northeast region and southern area. The provinces had been randomly selected as the regional representatives and the sample groups had been determined into 4,000 children aged 5-14 years and 1,000 general publics. The analysis of data used descriptive statistics which were frequency and percentage.            The overall survey indicated that the general public perceived news and problems on child drowning higher than children aged 5-14 years in almost aspects with some exception area only in which children group has higher perception. Those topics are that            “drowning is the 1st cause of death that occurs to children under 15 years”, “the first Saturday in March marks child drowning prevention day”, “water sources nearby house including swamp, pond, pool are all considered as the places to cause child drowning the  most”. Moreover, the results suggested that the points which should be publicized more in order to communicate with the children and the general youth on the correct information   and understanding since the perception of these points were quite low were as follows:          - “the first Saturday in March marks child drowning prevention day”, only 12.70% of  children knew about it, while 9.30% of the general public knew it.          - After recuing the drowned people, you have to carry them on the shoulder and then, shake up and down to drain water out of their mouth. This belief is misconception 56.28% of children and 71.60% of the general public understood that the above practice was correct.

Downloads