การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยให้ปลอดจากการทุจริต : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้นแบบ ด้านการป้องกันการทุจริต

Authors

  • เกริกเกียรติ แก้วมณี
  • จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ

Keywords:

การป้องกันการทุจริต/ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบ/ การบริหาร/ อปท

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการบริหาร และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จใน  การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ปลอดจากการทุจริต เป็นการวิจัยเชิงบุกเบิก (Exploratory   Research) โดยจัดเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกจํานวน 47 คน จาก อปท. ต้นแบบ ด้านการป้องกัน การทุจริตระยะที่ 1 (ปี พ.ศ.2556-2559) จํานวน 3 แห่ง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจําแนกหรือจัดกลุ่มข้อมูล (Typological Analysis) และสรุปสู่หลักการใหญ่เป็นผลการศึกษาในภาพรวมโดยวิธีอุปนัย  (Inductive Method)          ผลการศึกษาพบว่า การบริหาร อปท. ให้ปลอดจากการทุจริตมีหลักการที่เป็นแกนกลาง 4 หลักการ  ได้แก่ หลักความรับผิดชอบ หลักการนําองค์การ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความโปร่งใส และหลักการเสริม อีก 7 หลักการ ได้แก่ หลักคุณธรรมและจริยธรรม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักนิติธรรม หลัก ประสิทธิภาพและประสิทธิผล หลักการตอบสนอง หลักการตรวจสอบถ่วงดุล และหลักการสร้างเครือข่าย ทั้งนี้  อปท. ต้องนำหลักการข้างต้นไปสร้างวิธีการบริหารผ่านประเด็นมุ่งเน้น 11 ด้าน ได้แก่ บทบาทการนําของผู้บริหาร จิตสํานึกและความตระหนักของทุกภาคส่วน การบริหารงานบุคคล การเงินและงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้าง การจัดเก็บรายได้ การเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร ความเป็นเจ้าของท้องถิ่น การให้บริการประชาชน การตรวจสอบถ่วงดุล และเครือข่ายต่อต้านการทุจริต ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการ บริหาร อปท. ให้ปลอดจากการทุจริต ได้แก่ การทําหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบของผู้บริหาร พนักงานส่วนท้องถิ่น ผู้นําชุมชน และสื่อสารมวลชน วัฒนธรรมการเมืองที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน และ ระยะเวลาดําเนินการที่มากเพียงพอ           The purposes of this exploratory research study were to examine administrative principles and methods, and to study factors contributing to the success of administering local government organizations to eliminate corruption. The data were collected from 47 internal and external stakeholders, comprising 3 cases of the prototype of local government organizations for corruption prevention on phase 1 (A.D. 2013- 2016). A typological analysis technique was used to classify and group the data. In addition, an inductive method was used to develop principles that derived from summarizing the main points.          The results of the study revealed that there were four core principles for administering local government organizations to make them corruption free. These included the principles of accountability, organizational leading, participation, and transparency. Also, there were 7 additional rules which included the rules of ethics and morals, sufficiency philosophy, rule of law, efficiency and effectiveness, responsiveness, check and balance, and networking. It was important that local government organizations had to implement these aforementioned principles, together with 11 administrative aspects. These comprised leadership of administrators, awareness and realization of every sector, personnel administration, finance and budgetary, purchasing, income collection, information openness, locality, public service, check and balance, and anti-corruption network. Finally, based on the results of this study, it was shown that there were many factors contributing to the success of administering local government organizations that made them corruption-free. These included the administrators’ responsibilities for their duties, local administrative staff, community leaders, mass communication, political culture with checking and balancing each other, and adequate time for implementation.

Downloads