รูปแบบการนำนโยบายการศึกษาปฐมวัยไปปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี
Keywords:
การศึกษาปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนำนโยบายการศึกษาปฐมวัย ไปปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ใช้รูปแบบ การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นแนวทางในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการคัดเลือก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครจำนวน 8 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองจำนวน 5 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลจำนวน 5 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 5 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายการศึกษาปฐมวัยไปปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 20 คน กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 40 คน กลุ่มที่ 3 บุคลากรซึ่งทาหน้าที่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 60 คน กลุ่มที่ 4 ผู้ปกครองเด็กเล็กจำนวน 60 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบหน่วยบริบท (Contextual Unit) การวิจัยครั้งนี้ได้ข้อค้นพบรูปแบบการนำนโยบายการศึกษาปฐมวัยไปปฏิบัติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ประกอบไปด้วยปัจจัย 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินนโยบายเฉพาะ การมีมาตรฐานในการสร้างความร่วมมือกับเครือข่าย การที่ชุมชนท้องถิ่นให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา การจัดสรรงบประมาณ การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา กฎระเบียบชัดเจน และกลไกขับเคลื่อนนโยบาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงกระบวนการการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ที่เป็นรูปธรรม This research was to investigate a model of implementing the Early Childhood Education in the Child Development Center in Chonburi Local Administration Organization through applying a qualitative method as a guide for conducting the research and its data collection. Eight City Municipality Child Development Centers, five Town Municipality Child Development Centers, five Sub-district Municipality Child Development Centers, five Sub-district Administration Organization were selected. The key informants were those involved with implementing the Early Childhood Education in the Child Development Center in Chonburi Local Administration Organization. They were divided into four groups. The first group pertained 20 administrators from the Chonburi Local Administration Organization. The second group included 40 committee members of the Child Development Centers. The third group contained 60 personnel of the Child Development Centers. The fourth groupengulfed 60 parents. The qualitative data were gathered from the in-depth interview, the focus group discussion, and the secondary data and were analyzed through content analysis with contextual unit. This research revealed that there are seven factors in the model of implementing the Early Childhood Education in the Child Development Center in Chonburi Local Administration Organization. They involved having the ad hoc responsible agency, having standards in building collaboration with the network, being supported on schooling for the local communities, budgeting allocation, decentralization of schooling, evident rules and regulations and mechanism to drive the policy. These were the significant factors linking the process of constructively implementing the policy in the areas.Downloads
Issue
Section
Articles