หลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐานสำหรับการจ่ายสำนวนคดีในศาลยุติธรรม

Authors

  • มนุเชษฐ์ โรจนศิริบุตร
  • ธนวัฒน์ พิมลจินดา
  • ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค

Keywords:

การอ้างอิงหลักฐาน, สำนวนคดี, ศาลยุติธรรม, ผู้พิพากษา

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากหลักเกณฑ์การจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมในปัจจุบัน ความเหมาะสมในการนำหลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐานและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาประยุกต์กับการจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม และรูปแบบ หรือแนวทางในการนำหลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐาน และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาประยุกต์กับการจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของศาลยุติธรรม โดยใช้วิธีการศึกษาทั้งในเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารศาลยุติธรรม ได้แก่ อธิบดี รองอธิบดี และหัวหน้าศาล กับผู้พิพากษาผู้ได้รับการจ่ายสำนวนคดี เครื่องมือที่ใช้เป็นบทสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้พิพากษาศาลยุติธรรมทั่วประเทศ 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษาพบสรุปได้ว่า หลักเกณฑ์การจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมในปัจจุบันไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะการพิจารณาถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะและปริมาณคดีที่ได้รับมอบหมายของผู้พิพากษาแต่ละคน ดังนั้น หลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐานจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับการจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม เนื่องด้วยเป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเอื้อประโยชน์ต่อการบูรณาการและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เข้ากับภารกิจด้านกระบวนการยุติธรรม โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ และสามารถนำมาประยุกต์กับการบริหารจัดการในด้านการจ่ายสำนวนคดีให้แก่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมได้ ทั้งนี้ ตามแนวทางที่สอดคล้องกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายสำนวนคดี พ.ศ.2544           The objective of research was to study the problems be arising from the current regulations of case assignment to a judge in the Courts of Justice. It also was to study the suitability of applying the evidence-based management and human resources management to case assignment. Furthermore, it was to study the format or guidelines of applying the evidence-based management and human resources management to case assignment pursuant to the context of the Courts of Justice. The study used both qualitative and quantitative methods. The qualitative method was conducted by using in-depth interview with Chief Justice, Deputy Chief Justice, Chief Judge, Presiding Judge and Judges, and tool used was structured in-depth interviews. The quantitative method was conducted by collecting opinions and suggestions from 400 the judges of the Courts of Justice across the country. The instrument was a questionnaire. The statistics employed in quantitative data analysis were percentage, mean, standard deviation, and confirmatory factor analysis. The results concluded that there was no clarity in the current of case assignment to a judge in the Courts of Justice, especially the concept of expertise and the number of cases in charge for each judge. Concepts of evidence-based management were appropriate to be used in assignment case lawsuits to judges in the Courts of Justice. Because of it was a tool that was relevant and conducive to the integration of human resources management into the justice system, by using information of technology to help in its decision making. It also could be applied to the management of the assignment of the case to the judge in the Courts of Justice, according to the guidelines in accordance with the Statute of Courts of Justice and the Judicial Regulation of the Judiciary with the Assignment of the Case in 2001.

Downloads