รูปแบบของการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษาอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Authors

  • เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
  • ปานเสก อาทรธุระสุข
  • กาญจนา บุญยัง
  • โชเฮ โอกะวะ

Keywords:

การท่องเที่ยว, ผู้สูงอายุ, ชาวญี่ปุ่น, ศรีราชา, อิคิไก, Kaiteki

Abstract

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อศึกษาคุณลักษณะและความต้องการของชาวญี่ปุ่น และเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยผลักดันสำคัญสำหรับการจัดการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในประเทศไทย คือ นโยบายรัฐบาลของรัฐบาลญี่ปุ่น และปัจจัยดึงดูด คือ อากาศและสภาพแวดล้อมของประเทศไทย และค่าครองชีพบทความนี้เสนอ “รูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นแบบสบายๆ (Kaiteki Style) ณ ศรีราชา: เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” ซึ่งควรมีลักษณะ คือ (1) ความสบายกาย: ที่พักอาศัยมีสิ่งอำนวยความสะดวก ปลอดภัย และสงบ มีอาหารที่มีคุณภาพ สภาพแวดล้อมทางกายภาพมีความปลอดภัย มีความสะดวกในการเดินทาง และมีบริการสุขภาพที่มีมาตรฐาน (2) ความสบายใจ: สร้างความรู้สึกให้เสมือนอยู่ในประเทศญี่ปุ่น (ที่พักอาศัย อาหาร สถานที่ทำกิจกรรม/พบปะระหว่างกัน) มีผู้ดูแล/ผู้ให้บริการที่สื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ บริการสุขภาพได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสุขภาพ และมีบริการและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้ภาษาญี่ปุ่น ทั้งนี้ต้องอยู่บนเงื่อนไขจำเป็น คือ การสร้างลักษณะทางกายภาพที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ พื้นที่สาธารณะมีมาตรฐาน ปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะสม การพัฒนาระบบการตรวจลงตราให้มีมาตรฐาน และการพัฒนาบุคลากรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว            The main objective of this study was to investigate long-stay tourism for Japan’s elderly by using the mixed method research to study the characteristics and the requirements of Japan’s elderly, and to propose a specific type of long-stay tourism for Japan’s elderly. It was found that the key factor promoting long-stay tourism in Thailand was the policy of the Japanese government and the attracting factors were the weather, the environment and the cost of living in Thailand. This study proposes the “relaxing (Kaiteki-style) long-stay tourism for Japan’s elderly in Sriracha: an elderly-friendly city”, which has the following characteristics: (1) convenience: it offers well-equipped accommodation in a safe and calm environment, high-quality food, safe physical environment, and convenience in transportation; and (2) comfortableness: it gives the feeling of staying in Japan (accommodation, food, places of activities and meetings); it has caregivers/providers who can communicate in Japanese; healthcare services are covered by the health insurance system and there are services and technology that facilitate the access of information in Japanese language. However, this proposal relies on some essential factors, namely, the provision of physical environment that is elderly-friendly, public spaces that comply with safety standards, well-equipped facilities, improvement of the visa application system as well as human resource development in private and public sectors that are involved in long-stay tourism.

Downloads