นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นกับความตื่นตัวทางการเมือง
Keywords:
ความตื่นตัวทางการเมือง, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, การเลือกตั้ง, ทัศนคติ, การเมืองAbstract
การตื่นตัวทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเยาวชน ซึ่งถือเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้น บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความตื่นตัวทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 และ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีต่อการเลือกตั้งโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าสถาบันกล่อมเกลาทางการเมืองมีบทบาทต่อความตื่นตัวทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.12, SD = 0.28) วัฒนธรรมทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.31, SD = 0.31) นักศึกษาร้อยละ 97.77 มีความเข้าใจทางการเมืองเป็นอย่างดี แต่มีรู้ความสนใจทางการเมืองค่อนข้างน้อย การมีส่วนร่วมทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 1.55, SD=0.42) และนักศึกษารับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ คือ เฟซบุ๊กมากที่สุดสรุปโดยภาพรวมนักศึกษามหาวิทยาลัย ขอนแก่น มีความตื่นตัวทางการเมืองในระดับปานกลางซึ่งเป็นผลมาจากการถูกปิดกันการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ทัศนคติที่มีต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักศึกษาคิดว่าจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 97.33 เหตุผลหลักในการตัดสินใจเลือกคือ นโยบาย ในอนาคตประเทศไทยน่าจะมีการรัฐประหารขึ้นอีก และนักศึกษาส่วนใหญ่คิดว่าจะเลือกพรรคอนาคตใหม่มากที่สุด Political Awareness is an important factor for young people regarded as the future of the nation. This research was aimed to 1) study the political awareness of Khon Kaen University (KKU) students towards the general election held on 24 March 2019 and 2) investigate the political attitudes of KKU students towards the election. The sample group used in this study was 600 youths. The purposive sampling was applied, and questionnaires were used as the research method. Statistical tools were used to analyze data including frequency, percentage, mean, and standard deviation. The finding shows that institutes of political socialization affect the political awareness at a moderate level (average = 2.12, SD = 0.28). Political culture is at a moderate level (average = 2.3, SD = 0.31). 99.77 percent of KKU students has political understanding well, but they have little knowledge and interest in politics. The level of political participation of KKU students is at a moderate level (average = 1.55, SD = 0.42). Facebook is the mostly social network that KKU students use to receive political news, the overall level of political awareness of KKU students is at a moderate level, resulting from being banned to talk about politics in the past. About attitudes towards the 2019 Thai general election, 97.33 percentages of KKU students will go out for voting. The main reason to vote is a policy. In the future, Thailand has the tendency to have the coup. Most of the KKU students will vote for the Future Forward Party.Downloads
Issue
Section
Articles