พัฒนาการของช่องทางในการแสดงออกทางการเมืองในสื่อออนไลน์ ช่วง พ.ศ. 2557-2560

Authors

  • วุฒิพล วุฒิวรพงศ์
  • กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล

Keywords:

การเมืองออนไลน์, สื่อสังคมออนไลน์

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของช่องทางในการแสดงออกทางการเมืองในสื่อออนไลน์ ช่วง พ.ศ.2557-2560 ซึ่งเป็นช่วงนับตั้งแต่การเกิดรัฐประหารในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารทุติยภูมิ โดยเฝ้าดูปรากฏการณ์ของการแสดงความเห็นทางการเมือง ในแต่ละแพลทฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ในห้วงเวลาดังกล่าว ทั้งแพลทฟอร์มหลักและแพลทฟอร์มรอง          ผลการศึกษาพบว่า กรณีแพลทฟอร์มหลัก เฟซบุ๊กเป็นช่องทางการแสดงออกทางการเมืองที่สามารถรองรับกระแสความสนใจทางสังคมและการเมืองของผู้คนในสังคมไทยอย่างมาก ยูทูป มีจุดเด่นในการอธิบายด้วยภาพและเสียงที่ไม่ต้องผ่านการอ่าน ทำให้เข้าถึงผู้ใช้ผู้รับชมจำนวนมาก กรณีแพลทฟอร์มรอง ทวิตเตอร์ มีความสำคัญต่อการเมืองไทยในฐานะที่นักการเมืองไทยรุ่นใหม่เคยใช้และเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นในปัจจุบัน ส่วนอินสตาแกรมได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมี “แฮชแท็ก” หรือคำสำคัญ เพื่อแสดงเสียงสนับสนุนและเจตนารมณ์ร่วมกัน ส่วนไลน์ (Line) ซึ่งเป็นการสื่อสารจากผู้ใช้สู่ผู้ใช้นั้น ได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อมีการควบคุมเนื้อหากับพื้นที่เฟซบุ๊กที่ทำให้การแบ่งปันส่งต่อกลายเป็นความผิดและสามารถถูกดำเนินคดีได้ ส่งผลให้การแสดงความคิดเห็นและเนื้อหาทางการเมืองอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาบนเฟซบุ๊กของผู้ใช้งานในประเทศไทยเป็นไปได้น้อยลง นำไปสู่การเติบโตของโปรแกรมสนทนา (Instant Messenger) แบบกลุ่มปิด (Private Group) รวมถึงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานเพื่อซ่อนการเข้าถึงจากสาธารณะ (Privacy Setting) และการปิดบังอัตลักษณ์ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกสอดส่องและการถูกตรวจสอบ           This research studied the evolution of online politics in social media under Thai military rule during 2014-2017, through related documentaries, and observation of political interaction in major social media platforms, and emerging platforms, as the phenomenon progressed.          The research found that Facebook, as a major platform, had gathered much of social and political attention in Thai society, while YouTube had gained increasing popularity with multimedia contents that ease literacy limitation. Twitter is a fast-growing emerging platform employed by leading politicians to reach new generations, while Instagram gradually grows through series of popular “hashtags” or keywords to demonstrate common causes. LINE is another growing platform, as major platforms has been subjected with tighter control and series of prosecutions. Thai political talks had been driven to covert communication in direct-messenger and closed-group communication, with careful privacy setup and avatars to disguise their identities from strict state surveillance.

Downloads