องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกระบวนการสร้างสันติสุขชายแดนใต้

Authors

  • สุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง

Keywords:

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การสร้างสันติสุข, จังหวัดชายแดนภาคใต้

Abstract

          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างสันติสุขเพราะว่าการดำเนินนโยบายและโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำไปสู่การสร้างสันติสุขได้ อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการเหล่านั้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินโครงการที่นำไปสู่การสร้างสันติสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการดำเนินโครงการที่นำไปสู่การสร้างสันติสุข บทความนี้นำเสนอบนพื้นฐานข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลด้านการเสริมสร้างสันติสุขที่อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสิ้น 51 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยขับเคลื่อนมีหลายประการเช่น ความตั้งใจของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีเครือข่ายการทำงานและการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนในการดำเนินกิจกรรม อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอุปสรรคที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนโครงการเช่น ความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้บริหารท้องถิ่นและพนักงานส่วนท้องถิ่น ปัญหาการใช้ดุลพินิจของหน่วยตรวจสอบภายนอก การขาดองค์ความรู้ในเชิงวิชาการของบุคลากรและความหวาดระแวงของเจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง สำหรับข้อเสนอแนะที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินโครงการเสริมสร้างสันติสุข ได้แก่ การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการจัดการโครงการ การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในองค์กร การเสริมทักษะเชิงวิชาการให้บุคลากรของท้องถิ่นและการเพิ่มความไว้วางใจต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น           Local administrative organization is a significant organization in the process of peacemaking. Since, the implementation of policies and projects of local administrative organization can bring about to making peace. However, there are several factors influencing the implementation of such peace projects of local administrative organization. Thus, the objectives of the study were, firstly, to investigate factors affecting the operation of peace projects of local administrative organization in southern border provinces. The second objective was to suggest the approaches increasing capacities of local administrative organization in southern border provinces to implement its peace projects. This paper was written based on qualitative data that were collected by focus group and in depth interview technique. The researcher applied purposive sampling technique with local administrative organizations in southern border provinces that were rewarded in terms of supporting peace. The number of participants was 51 persons. According to the findings of the study, driven factors influencing the implementation of peace projects were, such as, intention of leadership of local administrative organization, networking among stakeholders at local level, and enhancing participation of local communities. However, there were certain barriers influencing the operation of local administrative organizations. Barriers were, for example, the different opinions between leadership of local administrative organization and local officials, problem associated with discretion of external inspection units, lacking of academic skill of local officials, and suspicion of the officials of central government. This study suggested some approaches to reinforce local administrative organizations in peacemaking processes. Recommendations were applying principles of good governance as a tool to implement projects and activities of peacemaking of local administrative organizations, applying management information system for local administrative organizations, enhancement of academic skills of local officials, and increasing the trustworthiness in local administrative organizations.

Downloads