นวัตกรรมนโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก
Keywords:
นวัตกรรม, นโยบายสวัสดิการ, ผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ภาคตะวันออกAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการกำหนดนโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงวัย และศึกษาการกำหนดนโยบายที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรม โดยวิเคราะห์การกำหนดนโยบายจากวิสัยทัศน์ งบประมาณ และโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก จำนวน 222 แห่ง โดยใช้ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการบริหาร และงบประมาณ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติพรรณนา ผลการวิเคราะห์ “วิสัยทัศน์” พบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกือบทั้งหมดไม่ได้มีการกำหนดนโยบายสวัสดิการเพื่อผู้สูงวัยโดยตรง แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้กำหนดนโยบายที่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนโดยรวมที่ไม่ได้ระบุเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นผู้สูงวัยจะถูกนับรวมเป็นผู้รับประโยชน์ในนโยบายดังกล่าวด้วย สำหรับจำนวนโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการเพื่อผู้สูงวัยมีจำนวนทั้งสิ้น 1,954 โครงการ/กิจกรรมโดยเป็นโครงการ/กิจกรรมด้านการส่งเสริมรายได้/อาชีพมากที่สุดส่วนโครงการ/กิจกรรมที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมพบว่ามีเพียง 374 โครงการ/กิจกรรมหรือคิดเป็นร้อยละ 19.14 จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 146 แห่ง โดยพบว่าเป็นโครงการ/กิจกรรมด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครองมากที่สุด และเป็นโครงการ/กิจกรรมด้านรายได้/อาชีพน้อยที่สุด เมื่อพิจารณามิติด้านงบประมาณ พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกมีงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของผู้สูงวัยที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมจำนวนทั้งสิ้น 48.5 ล้านบาท (ร้อยละ 2.21) เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการผู้สูงวัยทั้งหมดซึ่งใช้งบประมาณถึง 2,198.9 ล้านบาท The purpose of this study was to study the formulation of welfare policy for the elderly, and the elderly welfare policy innovation by analyzing the policy formulation from the vision, budget and projects/activities related to welfare for the elderly of 222 local administrative organizations in the eastern region. Using document data related to administrative and budget policies and with content analysis and descriptive statistics were identified and described as follows: the results of the "vision" analysis showed that almost all local administrative organizations did not have direct welfare policies for the elderly. However, most local government organizations have established policies that showed the importance of caring for the public as a whole, but not specific to a particular group. Therefore, the elderly were counted as beneficiaries of the said policy. There were in total 1,954 projects/activities related to welfare for the elderly. Most of these projects/activities focused on income/career promotion. However, only 374 projects/activities were found to be innovative, accounting for 19.14% of the relevant projects/activities carried out by 146 local government organizations. Most of the innovative projects/activities were related to social security, family, caregiver and protection, while income and occupation were least considered among the innovative projects/activities. When considering the budgetary dimension, it was found that the projects/activities related to the welfare of the elderly with innovative characteristics had the total budget of 48.5 million Baht (2.21%), comparing to the total budget of the projects/activities related to the provision of welfare for the elderly of 2,198.9 million Baht.Downloads
Issue
Section
Articles