อีสานในอาเซียน : ความเหลื่อมล้ำกับการพัฒนาภูมิภาค
Keywords:
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อาเซียน, ความเหลื่อมล้ำ, การพัฒนาภูมิภาคAbstract
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ถือเป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยทั้งในด้านพื้นที่และประชากรแต่มีความยากจนและความเหลื่อมล้ำสูงกว่าภาคอื่น ๆ ทั้งที่ปัจจุบันภาคอีสานเป็นพื้นที่สำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเอกสารเชิงคุณภาพที่ใช้การวิเคราะห์แบบเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศมาอธิบายการพัฒนาภูมิภาคที่เชื่อมโยงนโยบายระดับระหว่างประเทศและการพัฒนาพื้นที่ภายในประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ความเป็นภูมิภาคของอีสานเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทระหว่างประเทศโดยเฉพาะกระแสภูมิภาคนิยมในปัจจุบันที่ส่งเสริมระบบตลาด ประการที่สอง การพัฒนาภูมิภาคสัมพันธ์กับระบบทุนนิยมและการปรับบทบาทของรัฐเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดในการขยายตัวของระบบตลาด และประการสุดท้าย หากพิจารณาตามแนวคิดการพัฒนาทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เท่าเทียม กระบวน การข้างต้นมีแนวโน้มที่จะรักษาและขยายความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่อีสานและภูมิภาคอื่นเพราะจะเกิดการแข่งขันระหว่างพื้นที่ในการดึงดูดการลงทุนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สามารถเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน Northeast Thailand or Isan is the largest region of the country, in terms of both area and population. Although the region is becoming one of the growth areas in economic development strategies, including in ASEAN Community, its problems of poverty and inequality continue to be higher than other parts of Thailand. This study employs qualitative documentary research and international political economic analysis to explain regional development linking international development policies and spatial development at the national level, especially on the issue of inequality in Northeast Thailand. There are three findings of the research. Firstly, the regionness in the Northeast has changed in accordance with international contexts. The current regional development, in particular, has created a spatial framework that facilitates the market system. Secondly, the regional development has related to capitalism and transforming roles of the state in overcoming constraints to the expansion of the market. Finally, according to the theory of uneven geographical development, it is difficult to reduce regional inequality because that approach of development theoretically creates competition between areas to attract investment and economic activities that can be moved across borders.Downloads
Issue
Section
Articles