แผนสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
Community Environment Planning for Environment Quality Management in Eco - Industrial Development Zone in Laem Chabang Municipality, Si Racha District, Chonburi
Keywords:
แผนสิ่งแวดล้อม, เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, เขตพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก, การพัฒนาที่ยั่งยืนAbstract
งานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง แผนสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนสิ่งแวดล้อมชุมชน เทศบาลนครแหลมฉบัง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฝ่ายการเมือง ฝ่ายข้าราชการประจำ และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมระดมความคิดจากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา จากผลจากการวิจัย เจ้าหน้าที่และผู้นาชุมชนในพื้นที่เทศบาลแหลมฉบังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับปานกลาง มีข้อจำกัดในด้านความรู้ความสามารถของบุคลากร และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครแหลมฉบังได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายภาคประชาชนเป็นอย่างดี แต่ผู้นำชุมชนต้องรับบทบาทในการทำงานหลายหน้าที่ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรเวลาในการเข้าร่วมครบกิจกรรมและยังไม่มีแนวทางการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยแผนสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนจัดทำขึ้นเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยครอบคลุมทั้งมิติสิ่งแวดล้อม กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ A qualitative research titled community environment planning for environment quality management in eco - industrial development zone in Laem Chabang Municipality, Si Racha District, Chonburi aims to create a community environmental plan in Laem Chabang municipality. The population is local administrators in the political department, public servants, and local administration staff responsible for the eco - industrial zone. The research tools are uninstructed interview, in-depth interview, and brainstorm from the three groups of the population: the community leaders, natural resource and environment protector volunteers, the local administrators, and representatives from the concerned organizations. The results revel that the officers and the community leaders in Laem Chabang municipality area have moderate knowledge and understanding about the eco - industrial development zone with limited abilities and environmental quality assessment tools. Laem Chabang Municipality are well supported by the people. Nevertheless, the community leaders must be responsible to several duties. This makes them unable to participate in every activity and still lack of model community development plan on environmental quality management to comply with the development approach from eco - industrial city to sustainable environmental city. The environmental plan by the community is a project emphasizing on health and environmental effect precaution which covers all the aspects of environment, geography, society, and economics.References
กนกกาญจน์ น้อยนาช และคณะ. (2558). การส่งเสริมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมบางชัน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2), 312-319.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2558). คู่มือความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2562). เกณฑ์และตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). แผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. วันที่ค้นข้อมูล 23 สิงหาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171114-draeqa-blueprint.pdf
กิตติคุณ แสงนิล และคณะ. (2561). ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ: กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมบางปู. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(3), 463-481.
เทศบาลนครแหลมฉบัง. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561-2564) เทศบาลนครแหลมฉบัง. ชลบุรี: เทศบาลนครแหลมฉบัง.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). (2559, 30 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก. หน้า 1-215.
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. (2560, 15 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 5 ก. หน้า 1-7.
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560. (2560, 22 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก. หน้า 48.
ธันวดี สุขสาโรจน์ และคณะ. (2562). โครงการจัดทำแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน ในเขตพื้นที่พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2504). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่หนึ่ง พ.ศ. 2504-2509. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ.
สมชาย มุ้ยจีน. (2557). แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2557). วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ปทุมธานี: ฝ่ายวิจัยนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.