ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการจัดการ การท่องเที่ยวของชายหาดบางแสน
Tourist’s Aspect to the Potential of Tourism Attractions and Tourism Management of Bang Saen Beach
Keywords:
ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว, การจัดการการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวชายหาดบางแสนAbstract
การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการจัดการ การท่องเที่ยวของชายหาดบางแสน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสนตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวของชายหาดบางแสนตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว และเพื่อศึกษาอิทธิพลของการจัดการการท่องเที่ยวของชายหาดบางแสนที่มีต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสนตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว พบว่า มีศักยภาพด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านที่พักแรม ด้านแหล่งท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว 2. การจัดการการท่องเที่ยวของชายหาดบางแสนตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว 3 อันดับแรก พบว่าการส่งเสริมนักท่องเที่ยวให้ช่วยรักษาความสะอาดของชายหาดมากที่สุด รองลงมาคือ มีการส่งเสริมการอุดหนุนผู้ค้าบริเวณชายหาด และมีการรณรงค์เรื่องการดูแลความสะอาดต่อเนื่อง 3. การจัดการการท่องเที่ยวของชายหาดบางแสนปัจจัยด้านมีการจ้างงานคนในท้องถิ่น ผู้ประกอบการชายหาดมีการดูแลรักษาความสะอาด และนักท่องเที่ยวมีช่องทางติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานท้องถิ่นได้ ส่งผลต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในภาพรวม ดังสมการ Ytot = 0.910 + 0.133X2 + 0.130X5 + 0.120X10 The objectives of the research on tourist’s aspect to the potential of tourism attractions and tourism management of Bang Saen Beach were 1) study the potential of Bang Saen Beach attraction from the tourist’s aspect, 2) study the management potential of Bang Saen Beach based on the tourist’s aspect, and 3) investigate the impact of tourism management of Bang Saen Beach on the attraction’s potential. A questionnaire was used as the research tool to collect data from 400 tourists. The statistics used to analyze the collected data included frequency, mean, and standard deviation. Stepwise multiple regression analysis with a statistical significance .05 was applied to test the research hypothesis. Research results illustrated that: 1. The greatest potential of Bang Saen Beach was the access to tourist attractions, followed by tourism activities and accommodation. 2. Regarding the management potential of Bang Saen Beach, the tourists viewed that they helped keep the place clean, supported the beach-front shops, and promoted a cleanness campaign. 3. Tourism management of Bang Saen Beach in local employment, the beach-front shops helped keep the place clean and tourists had channels to communicated with local authorities impacted the potential of tourist attractions. As shown in the equation; Ytot = 0.910 + 0.133X2 + 0.130X5 + 0.120X10References
กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560 2564. กรุงเทพฯ: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.
กรมการท่องเที่ยว. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2562 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). วันที่ค้นข้อมูล 27 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/ more_news_new.php?cid=618
เกียรติศักดิ์ พานิชพัฒธนกุล และรัตพงษ์ สอนสุภาพ (2562). ผู้นำกับทุนทางสังคมในการพัฒนา ชายหาดบางแสน. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(2), 13 23.
จิราพร ร่วมรักษ์. (2558). การจัดการขยะชายหาดในเมืองท่องเที่ยว กรณีศึกษา: ชายหาดบางแสน เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดภูเก็ต. วารสารปัญญา, 26(1), 76 85.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
นวลพรรณ คณานุรักษ์. (2555). ประเภทและแหล่งที่มาของขยะทะเลตามฤดูกาลบริเวณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไมตรี พุทธวงษ์. (2559). แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ราศรี สวอินทร์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา. งานวิจัยทุนอุดหนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วิภาดา ศุภรัฐปรีชา. (2553). ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนวัดเกตเชียงใหม่. วิทยนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์เพื่อการวางแผนการท่องเที่ยวและการแก้ไขปัญหาความยากจนแห่งเอเชีย. (2549). แนวทางการวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.
สมบัติ กาญจนกิจ. (2557). นันทนาการและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริยา แสงพงค์. (2560). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 6(2), 99 133.
อารีรัตน์ วัชรโยธินกุล. (2560). ความคาดหวังและมิติความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ ส่งผลต่อการกลับมาเยือนซ้ำเกาะล้านจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text (2nd ed.). Australia: Hodder Education.
Global Sustainable Tourism Council (GSTC). (2013). Global Sustainable Tourism Council Criteria Suggested Performance Indicators for Destinations. Retrieved December 13, 2020, from http://www.gstcouncil.org/
Pascoe, S. (2019). Recreational beach use values with multiple activities. Ecological Economics, 160, 137 144.