ระบบการบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพในภาคราชการไทย
Talent Management System of Thai Government Sector
Keywords:
การบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพ, ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง, ราชการไทยAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมแนวคิดการบริหารกำลังคนคุณภาพในภาครัฐ ภายใต้แนวคิดระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance and Potential System: HiPPs) และการนำแนวคิดระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance and Potential System: HiPPs) มาใช้ในระบบราชการไทย บทความนี้เป็นบทความวิชาการที่มีวิธีการศึกษาจากเอกสาร (Documents) ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance and Potential System: HiPPs) รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำแนวคิดดังกล่าวมาปฏิบัติ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ในยุคปัจจุบันที่องค์กรภาครัฐต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้การจัดการทรัพยากรมนุษย์ต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น องค์กรใดที่ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการ และสามารถดูแลรักษา Talent People ที่เป็นทุนมนุษย์ขององค์กรไว้ได้ องค์กรนั้นก็จะได้เปรียบในเชิงแข่งขันและสามารถฟันฝ่าอุปสรรคและวิกฤติต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ HiPPS ถูกพัฒนา ขึ้นเพื่อเป็นระบบในการคัดกรองข้าราชการที่มีคุณภาพสูง โดยมีพื้นฐานหลักมาจากการมุ่งไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง การประเมินที่เป็นระบบ มีความเป็นธรรม และมุ่งเน้นการทางานเป็นทีม ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อหน่วยงานหลากหลายประการทั้งเรื่อง การได้บุคลากรที่มีคุณภาพ มีมุมมองในการทางานที่ดี เกิดแรงจูงใจในการทางานในระบบราชการ มีแนวทางความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้น มีการแข่งขันการสร้างผลงาน ทั้งนี้การนำแนวคิดระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance and Potential System: HiPPs) มาใช้ในระบบราชการไทยสามารถนำมาใช้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นคัดเลือกบุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าอบรมฝึกฝนการปฏิบัติแบบเป็นทีม มีกิจกรรมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน เพื่อสร้างประสบการณ์ ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องความต่อเนื่องในการพัฒนาบุคลากร และการมีผลผลิต ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม This academic article aims to collect the concept of talent management system of Thai government sector under the concept of High Performance and Potential System (HiPPs) and the adoption of the concept of High Performance and Potential System (HiPPs) in Thai government system. The documents related to the concept of High Performance and Potential System (HiPPs) and the implementation of such concept were studied and the data were analyzed by content analysis. The results showed that government organizations are faced with changes at present, and human resource management has to be adapted to accommodate the changes. The organizations emphasizing management and being able to maintain the talent people who are the human capital of the organization will have a competitive advantage and be able to effectively overcome various obstacles and crises, both present and future. HiPPS was developed as a system for screening high quality civil servants. It primarily focuses on people-centered achievement, systematic and fair assessment and teamwork. It has positive impacts on organizations, including acquiring quality personnel with positive views towards work and motivation to work in the government system as well as having guidelines for more advancement in work and competing to create works. However, the concept of High Performance and Potential System (HiPPs) in Thai government system can be applied for creating concreting benefits by focusing on selecting the personnel of organizations to attend trainings and practices on teamwork and organizing the activities to create exchanges, learning, working to create experience which is outstanding in the continuity of personnel development and concrete productivity and outcomes.References
ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2559). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์นักบริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). คู่มือการบริหารจัดการกำลังคนคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
ศูนย์นักบริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). รายงานประจำปีระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2554). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์ จากัด.
วรเดช จันทรศร. (2554). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). กำลังคนภาครัฐ 2561: ข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมการแพทย์. (2559). คู่มือข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์.
สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). มาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2562 2565). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
อังศินันท์ อินทรกำแหง และคณะ. (2563). การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์กลุ่มกำลังคนคุณภาพ: กรณีศึกษาระบบราชการไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 12(1), 56-73.
อังศินันท์ อินทรกำแหง และวนริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2556). การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารกำลังคนคุณภาพ เพื่อความต่อเนื่องในการบริหารราชการ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.